“ถึงแม้ผู้สูงอายุบางคนจะมีสุ ขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ก็ยังต้องการความรัก การเอาใจใส่จากครอบครัวและลู กหลาน จึงอยากเชิญชวนให้ลูกหลานกลั บไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านกั นบ้าง ไม่ต้องมีเงินทองมากมายมาให้ เพียงแต่มาเยี่ยม มาพูดคุย ให้กำลังใจ อยู่เป็นเพื่อนท่านบ้าง ก็ถือเป็นการสร้างความสุขในบั้ นปลายให้แก่ท่านแล้ว”
วันนี้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สั งคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่ งชาติ พบว่าสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย หรือผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 13.64 ล้านคน คิดเป็น 19.5% หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุที่ยั งคงทำงานอยู่จำนวน 5.11 ล้านคน คิดเป็น 37.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด การเผชิญหน้ากับ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ จึงนับเป็นโจทย์ที่ท้ าทายเพราะถือเป็นการเปลี่ ยนแปลงโครงสร้างของประชากรครั้ งสำคัญ
มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิ ตชนบท ตระหนักถึงสถานการณ์ของสังคมผู้ สูงอายุในประเทศไทยมาโดยตลอด จึงได้ขับเคลื่อน “โครงการบ้านชื่นสุข” ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างพลั งกายและพลังใจให้กับผู้สูงวัย ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิ ตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ ให้ก้าวข้ามผ่านความกลัว ความเศร้า และความทุกข์ใจ เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่ าในตนเอง เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสั งคมได้อย่างมีความสุข
ธิดา สำราญใจ ผู้บริหารด้านพัฒนาเด็ กและเยาวชน มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิ ตชนบท กล่าวว่า ผู้สูงอายุถือเป็นทรัพยากรบุ คคลที่มีคุณค่าต่อสั งคมและประเทศชาติ เพราะเป็นผู้ที่พร้อมไปด้ วยความรู้ ประสบการณ์ คุณวุฒิ และภูมิปัญญา การทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมี ความสุขในบั้นปลาย โดยต้องมีสุขภาพดีทั้งร่ างกายและจิตใจ ได้รับเกียรติ ได้รับการยอมรับ การเห็นคุณค่า ทั้งจากครอบครัวและสังคม ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ขณะเดียวกัน “ผู้สูงอายุ” ก็ถือเป็นวัยที่ต้องได้รับการดู แลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มี การเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมถดถอยในด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคภัยที่ต้องได้รับการดู แลรักษาอย่างต่อเนื่อง
“โครงการบ้านชื่นสุข เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุ ณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่อยู่บ้ านเพียงลำพัง และมีภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า แต่ยังสามารถ ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวั ตรประจำวันได้ ให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่ างใกล้ชิด โดยบุคลากรอาสา เพื่อให้ท่านรับรู้ได้ว่ าตนเองยังมีความสำคัญ มีคนห่วงใย พร้อมช่วยดูแล สร้างความอบอุ่นใจให้พวกท่าน เพื่อที่จะต่อสู้กับชีวิตในวั ยสูงอายุได้ดีขึ้น และยังถือเป็นการตอกย้ำในเรื่อง “ความกตัญญู” รวมถึงการตอบแทนบุญคุณ รู้จักให้ ที่คนรุ่นลูกรุ่นหลานพึงกระทำ” ธิดา กล่าว
ทางด้าน อาจารย์ อัญชลี ไก่งาม อดีตรองผู้ อำนวยการโรงเรียนป่าแดงวิทยา ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย ที่ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นบุ คลากรอาสา ดูแลโครงการบ้านชื่นสุขร่วมกั บมูลนิธิฯ กล่าวว่า โครงการบ้านชื่นสุข เป็นโครงการฯ ที่สร้างความสุขให้แก่ผู้สู งอายุอย่างแท้จริง ทำให้ผู้สูงวัยเข้าใจถึงคำว่า “แก่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ” เพราะสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่เป็นภาระของสังคม อย่างน้อยโครงการฯ ก็ได้ช่วยแบ่งเบาภาระทั้งภาครัฐ และลูกหลานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว
“ถึงแม้ผู้สูงอายุบางคนจะมีสุ ขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ก็ยังต้องการความรัก การเอาใจใส่จากครอบครัวและลู กหลาน จึงอยากเชิญชวนให้ลูกหลานกลั บไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านกั นบ้าง ไม่ต้องมีเงินทองมากมายมาให้ เพียงแต่มาเยี่ยม มาพูดคุย ให้กำลังใจ อยู่เป็นเพื่อนท่านบ้าง ก็ถือเป็นการสร้างความสุขในบั้ นปลายให้แก่ท่านแล้ว” อาจารย์อัญชลี กล่าว
บุญยนุช จันทร์บุญธรรม หรือ คุณยายญา ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการฯ บอกนิยามของโครงการฯนี้ว่า “กินอิ่ม นอนอุ่น” เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่าย และสะท้อนผลสำเร็จ ของโครงการฯ จากสุขภาพร่างกายที่อ่อนแรง และจิตใจที่อ่อนแอ การได้เข้าร่วมโครงการบ้านชื่ นสุข ทำให้ได้ศึกษาธรรมะ ฝึกสมาธิ และทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆร่ วมกับคนในวัยเดียวกัน คุณยายรู้สึกสนุกและมีความสุขทุ กครั้งที่ได้มาเจอเพื่อน ๆ โครงการฯ นี้พลิกฟื้นชีวิตให้กลับมาเป็ นปกติ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กลับมาทำกับข้าว กวาดบ้านถูบ้านได้ สรุปง่ายๆว่า “ช่วยคืนชีวิต คืนความสุขให้กับผู้สูงอายุได้ 100%”
โครงการบ้านชื่นสุข ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ตอกย้ำ ความเชื่อของเครือซีพี ในคุณค่า ‘ความกตัญญู’ ที่สามารถบ่มเพาะให้เติบโตในจิ ตใจของทุกคน ที่จะกลายเป็นการหยั่งรากสร้ างพื้นฐานที่มั่นคงและยั่งยื นในสังคม ซึ่งถือเป็นคุณธรรมที่ดี งามของสังคมไทย