สมาคมสหพันธ์ยางฯจับมือ ม.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชิงเต่า ส่งบุตรหลานชาวสวนยางไทยไปเรียนฟรีที่จีนฟรีเป็นครั้งแรก พร้อมดึงสุดยอดนักวิจัยยางพาราจากประเทศไทย ร่วมเจรจาความร่วมมือด้านงานวิจัย และแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย-จีน ต่อยอดพัฒนาการศึกษาด้านยางพารา การันตรีเรียนจบมีงานทำ
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา, ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ร่วมด้วยผู้แทนนักวิจัยยางจากทั้ง 4 สถาบันของไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมส่งบุตรหลานชาวสวนยางที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชิงเต่า มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาจำนวน 14 คน
โดยมี นายจางหูไห่ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน นายลี่นเจือชวน รองหัวหน้าสำนักงานนานาชาติ และนาย กัวเหล่ย รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน ร่วมให้การต้อนรับ รวมทั้งร่วมประชุมความร่วมมือด้านวิจัยยางกับนักวิจัยยาง 4 สถาบันการศึกษาในครั้งนี้
การส่งบุตรหลานชาวสวนยางจากประเทศไทยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณพ่อบาทหลวง ดร.สุรินทร์ จารย์อุปการะ ประธานฝ่ายการศึกษาและวิชาการ สังฆมณฑลราชบุรี ประสานงานโดยนายธนเดช กิจศุภไพศาล ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และคณะ
อย่างไรก็ตามผ่านมามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีชิงเต่าได้ความร่วมมือเชื่อมโยงด้านการศึกษาซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศรวม 126 มหาวิทยาลัยทั่วโลกที่ได้รับความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือ และสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาให้ลูกหลานชาวสวนยางไทยได้ศึกษาต่อในประเทศจีน จบแล้วมีงานทำ บริษัท หลิงหลง (THAILAND) (LLIT) และ บริษัท ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด ความร่วมมือด้านการศึกษานี่เป็นเสมือนหนึ่งสะพานเชื่อมโยงมิตรภาพระหว่างไทยกับจีนให้เกิดความแน่นแฟ้นร่วมกันยั่งยืนตลอดไป ซึ่งมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายไทย-จีนสืบกันมาแต่อดีตจนปัจจุบัน
ทั้งนี้ความร่วมมือในด้านการศึกษาจะได้มีการขยายการรับนักเรียนไทยลูกหลานจากชาวสวนยางไทยมาเรียนต่อเพิ่มขึ้น ส่วนความร่วมมือด้านงานวิจัยจาก 4 สถาบันการศึกษาไทยที่มีข้อเสนอผ่านสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยตามที่ได้ร่างบันทึกความร่วมมือ (MOU) มาเสนอนั้นทางวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนจะได้นำแนวทางไปพิจารณากับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยฯเพื่อพิจารณาก่อนที่จะมีการลงนามความร่วมมือกันซึ่งจะพิจารณากันในการจัดงานมหกรรมอุตสาหกรรมยางพารา ไทย-จีน ครั้งที่ 2 ที่จ.ระยอง ในปี 2567 ที่จะถึงนี้