กรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่เตรียมความพร้อมจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกปี 65” คาดทำเงินสะพัด 3.2 หมื่นล้าน

  •  
  •  
  •  
  •  

กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่สำรวจและประชุมร่วมกับผู้ว่าฯอุดรฯ เพื่อเตรียมความพร้อมจัดดงาน “มหกรรมพืชสวน โลก ปี 2569″  คาดมีประเทศสนใจเข้าร่วมจัดงานไม่ต่ำกว่า 40 ประเทศทั่วโลก มีผู้เข้าชมงานมากกว่า 36 ล้านคน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 134 วัน จะสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 32,000 ล้านบาท

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับคำสั่งจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ลงพื้นที่ประชุมเตรียมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 ที่ จ.อุดรธานี ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ผู้อำนวยการคณะกรรมการส่งเสริมเพื่อติดตามผลและเตรียมความพร้อมการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2569 พร้อมได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดงานดังกล่าว

      ทั้งนี้โดยเน้นย้ำความถูกต้องตามระเบียบราชการ   ซึ่งเป็นการจัดงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ .อุดรธานี สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสสปน.เป็นผู้รับสิทธิ์ในการผิดชอบในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี2565 โดยเป็นไปตามระบบและระเบียบการทำงานแบบสากลของสมาคมพืชสวนระหว่างระเทศ (AIPS) และ สสปนยังมีความสัมพันธ์กับสมาคมหรือองค์กรพืชสวนทั่วโลก

จากการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้กรมวิชาการเกษตรร่างโครงสร้างและองค์ประกอบของการจัดตั้งสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจำนวน 2 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร และ จ.อุดรธานี ให้มีโครงสร้างคล้ายกัน

       สำหรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกในครั้งนี้ มีธีมการจัดงานในหัวข้อ Harmony of Life (วิถีชีวิต สายน้ำ และพืชพรรณพื้นที่การจัดงานที่ กดสระ  .เมือง .อุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์อยู่ในการดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีพื้นที่ 1,030 ไร่ แบ่งเป็นพื้นน้ำ 400 ไร่ พื้นดิน 630 ไร่  ระยะเวลาการจัดงานทั้งสิ้นรวม 134 วัน

        วัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและพืชสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีพืชสวนในระดับชาติและระดับนานาชาติ   รวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยรองรับการเปิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  และได้กำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกดังกล่าว คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ

จากการประเมินผลการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) พบว่าจะก่อให้เกิดรายได้สะพัดถึง 32,000 ล้านบาท มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 20,000 ล้านบาท เกิดการสร้างงาน 8,100 อัตรา และมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี 7,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังรวมถึงความคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 36 ล้านคน และมีประเทศผู้สนใจเข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 40  ประเทศทั่วโลก