จากนายทหารอากาศหัวใจเกษตร สู่นักวิทยาศาสตร์อวกาศ วันนี้ของ “พล.อ.ท.ฐากูร นาครทรรพ”

  •  
  •  
  •  
  •  

กงบรรณาธิการ “เกษตรทำกิน”

ภาพนายทหารอากาศยศนาวาอากาศเอก (พิเศษ) ในฐานะผู้บังคับการกองบิน ๔๖ ในเวลานั้นลงลุยทุ่ง ลุยป่า เนรมิตพื้นที่ทหารอากาศรอบบริเวณกองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นสวนเกษตร ที่มีทั้งไม้ยืนต้น ป่าไผ ไม้ผล พืชไร่ และพืชผักสวนครัวที่สร้างรายได้เสริมให้กับกำลังพลและบุคลาในกองบิน 46 เป็นอย่างดี เมื่อ 8 ปีก่อน ผสมผสานกับผลงานที่ช่วยเกษตรกรในโตรงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” ในฐานะตำเหน่งผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือน ปี 25659  และมีส่วนร่วมในโครงการกองทัพอากาศช่วยชาวนาและชาวประมงพื้นบ้าน ที่ขนข้าวจากชาวนา จ.ยโสธร ไปแลกกับปลาของชาวประมงพื้นบ้านที่ จ.ภูเก็ตในเวลาต่อมา ยังไม่ทันจางหายในจิตสำนึกผลงานดีๆเหล่านี้

มาวันนี้ ณ ปัจจุบัน “พล.อ.ท. ฐากูร นาครทรรพ” กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์อสกาศในตำแหน่งตำแหน่งใหม่ “ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ”

พล.อ.ท.ฐากูร  นาครทรรพ  เป็นที่เคารพนับถือของนักข่าวสายเกษตรจำนวนมากที่ได้ลงพื้นที่ร่วมงานกันมาหลายครั้งหลายครา ทั้งที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดต่างๆซึ่งปัจจุบันยังลงพื้นที่หาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่จังหวัดน่านด้วย “เกษตรทำกิน” (kasettumkim.com) ของแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่ด้วย และหวังว่าจะนำพาศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศไทยมีความทันสมัยและเจริญรุ่งเรืองต่อไป

พล.อ.ท.ฐากูร  นาครทรรพ  เกิดเมื่อวันที่ 18เมษายน 2507 เป็นบุตรชายของ น.ต.ฐิติ  นาครทรรพ  กับนางสุมาลี  นาครทรรพ เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23 โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 30 จบหลักสูตรนายทหารยุทธการระดับฝูงบิน รุ่นที่ 41 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 42  จบหลักสูตรเสนาธิการกิจ  ณ  โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอินโดนีเซีย ปี 2542 และวิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 43

เริ่มรับราชการเป็นนักบินประจำหมวดบิน ๑ ฝ่ายยุทธการ กองบิน ๔๖ ฝูงบิน ๔๖๑ ปี 2533 ไต่เต้ามาเป็น,เรื่อยๆ จนปี 2544 เป็นอาจารย์ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กลับไปเป็นรองผู้บังคับการ กองบิน ๔๖ (๑)  ผู้บังคับการ กองบิน ๔๖  แล้วย้ายเข้ากรุงอีกครั้งรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือน ปี 2558 รองผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือน ปี2561 ในปี 2562 ย้ายมาเป็นนายทหารเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ (ประดับยศชัน พลอากาศตรี) ปี 2562 รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ ปี 2563

ล่าสุดดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ ปี 2565 (ปัจจุบัน)

ย้อนอดีตกับงานด้านพัฒนาเพื่อกำลังพล เกษตรกร และเพื่อสังคมในช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการกองบิน๔๖ ได้ดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกำลังพลภายในกองบินหลายโครงการ อาทิ โครงการพลังงานทดแทน การนำน้ำมันพืชเก่ามาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเชล ใช้ในกิจการของกองบิน จนประสบความสำเร็จ สามารถลดค่าใช้จ่าย ประหยัดค่าเชื้อเพลิง ได้เป็นจำนวนมาก และได้รับรางวัลระดับประเทศ 3 ปีซ้อน

ต่อมาเริ่มโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกองบินและขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองบิน ด้วยการนำพื้นที่ว่างเปล่าและรกร้างภายในกองบิน มาจัดทำโครงการเกษตรปลดหนี้ ตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการรื้อป่ารกร้างว่างเปล่ากว่า 200 ไร่ จัดสรรให้กำลังพลใช้เป็นที่ทำกิน ปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กองบิน๔๖ จนทำให้ข้าราชการในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ใช้สถานที่ศูนย์เรียนรู้เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน เป็นตัวอย่างของการประกอบอาชีพการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้กับข้าราชการทหาร ทั้งในหน่วยและนอกหน่วย รวมถึงประชาชนที่สนใจจากทั่วประเทศ ทำให้ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงกองบิน๔๖ ได้รับรางวัลระดับประเทศอีกหลายรางวัลติดต่อกันหลายปี นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างมากมาย ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างมากมายหลายพื้นที่ นั่นคือโครงการเทพประทานธารา ภายใต้แนวคิด……. สามารถแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนในชนบทได้หลายพื้นที่ทั่วประเทศ

จากนั้นเข้ามารับตำแหน่งส่วนกลาง ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองกิจการพลเรือน ได้นำประสบการณ์และวิชาความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มาสร้างงานใหญ่ และสร้างผลงานชื่อเสียงให้กับกองทัพอากาศหลายโครงการ นอกจากงานประจำที่มีกิจกรรมมิตรประชา ก็มีกิจกรรมที่สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพให้กับภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนปัจจัยการผลิตและภัยแล้ง เริ่มจากงานทัพฟ้าช่วยชาวนาครั้งที่ 1 ปี 2559  เมื่อชาวนาประสบปัญหาข้าวราคาตกต่ำ ทำให้ชาวนาขายข้าวไม่ได้ ถูกกดราคา นาวาอากาศเอกฐากูร นาครทรรพ (ยศในตอนนั้น)ได้นำปัญหาดังกล่าวเสนอผู้บังคับบัญชา และได้จัดงานทัพฟ้าช่วยชาวนา ขึ้นโดยกองทัพอากาศสนับสนุนรถขนส่งข้าวและเกษตรกรชาวนามาขายข้าวในพื้นที่ หน้าสนามกีฬาธูปะเตมีย์

งานนี้สามารถช่วยชาวนาขายข้าวได้ถึง 149 ตัน งานต่อมาสามารถชื่อเสียงกับกองทัพอากาศเป็นอย่างมาก ด้วยการจัดนิทรรศการใต้ร่มพระบารมี กิจกรรมเทิดพระเกียรติ ของ 4 เหล่าทัพ หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ผู้การฯฐากูร ได้เชิญเกษตรกรเครือข่ายของกองทัพอากาศมาช่วยจัดนิทรรศการ ในแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความนิยมจากประชาชนเข้าเยี่ยมชมอย่างคับคั่งทุกวัน

จากนั้นได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ให้จัดงานเทิดพระเกียรติและช่วยเหลือเกษตรกร อีกครั้งเป็นงานที่โด่งดังและสร้างชื่อเสียงให้กับกองทัพอากาศเป็นอย่างมาก นั่นคืองาน กองทัพอากาศกับศาสตร์พระราชา เป็นการรวมปราชญ์เกษตร ระดับประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์ศาสตร์พระราชา ให้กับเกษตรกร ประชาชนทั่วไปและข้าราชการพลเรือนของกองทัพอากาศ และเปิดพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรได้นำผลผลิตมาจำหน่ายเพิ่มรายได้ เป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

ในระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่ในกรมกิจการพลเรือน ยังได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรในถิ่นทุรกันดารอีกหลายพื้นที่ ด้วยการนำปัจจัยการผลิตเช่นเมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ย และอุปกรณ์การเกษตรไปแจกให้เกษตรกร ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างดี พร้อมกับนำโครงการเทพประทานธารา ซึ่งเป็นคนคิดโครงการขึ้นมาเอง นำชุดสูบน้ำบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ไปช่วยเกษตรกรแก้ภัยแล้ง ทำให้สามารถมีน้ำทำการเกษตรทั้งในหน้าแล้งและฤดูฝนทิ้งช่วง แก้ปัญหาให้เกษตรกรทั่วประเทศหลายกลุ่ม หลายจังหวัด

ต่อมาเลื่อนยศและตำแหน่งมาเรื่อยๆตามวาระ ก็ยังช่วยเหลือเกษตรกร ชุมชนและหลายภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอ ล่าสุดปรับพื้นที่ว่างเปล่า ของบ้านพักทหารอากาศทุ่งสีกัน แบ่งให้กลุ่มแม่บ้านได้ทำการเกษตร ปลุกพืชผักปลอดสารพิษ จำหน่ายหารายได้เสริมช่วยครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบัน เลื่อนชั้นยศเป็น พลอากาศโท และดำรงตำแหน่งใหม่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป