ซีพีเอฟ เดินหน้าแผนปฏิบัติการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการลดใช้พลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารเป็นศูนย์ รวมทั้ง อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน มุ่งสู่องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำร่วมขับเคลื่อน “ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ”ตามเป้าหมายองค์การสหประชาชาติ
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ปัจจัยท้าทายต่อธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ ได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6 กลยุทธ์ มุ่งสู่ “องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำ” ประกอบด้วย
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต มีเป้าหมายลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต 15% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 ภายในปี 2568 2. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของบริษัทฯคิดเป็น 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด 3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ผลิตภัณฑ์ MEAT ZERO นวัตกรรมเนื้อจากพืช ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ นวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4. วางแผนระบบโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ 5. ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และ 6. การแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ด้วยการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ เช่น ใช้วัตถุดิบข้าวโพดจากแหล่งผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จัดหาวัตถุดิบปลาป่นสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะต้องมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย และยึดมาตรฐานสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของวัตถุดิบได้ รวมทั้งการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการดำเนินโครงการ อนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟู พื้นที่ที่ป่าต้นน้ำและป่าชายเลน และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ ซึ่งดำเนินการไปแล้วมากกว่า 10,000 ไร่
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบรรเทาผลกระทบและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยยึดเป้าหมายและดำเนินงานตามกลยุทธ์ความยั่งยืน พร้อมทั้งนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ ทำให้ในปี 2563 สามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแนวทางอนุรักษ์โลก อาทิ ดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลดลง 36% เทียบกับปีฐาน 2558 นำน้ำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำคิดเป็น 42% ของการใช้น้ำทั้งหมด ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีคุณสมบัติสามารถใช้ซ้ำ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายได้ 99.9 % รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 580,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดกระบวนการผลิต
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบรรเทาผลกระทบและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยยึดเป้าหมายและดำเนินงานตามกลยุทธ์ความยั่งยืน พร้อมทั้งนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ ทำให้ในปี 2563 สามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนแนวทางอนุรักษ์โลก อาทิ ดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลดลง 36% เทียบกับปีฐาน 2558 นำน้ำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำคิดเป็น 42% ของการใช้น้ำทั้งหมด ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีคุณสมบัติสามารถใช้ซ้ำ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายได้ 99.9 % รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 580,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดกระบวนการผลิต
“โลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านสุขภาพครั้งใหญ่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมโลกเดินไปข้างหน้าช้าลง เราทุกคนจึงต้องร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อฟื้นสมดุลทางธรรมชาติให้กลับคืนมา ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาวให้กับทุกชีวิตบนโลกนี้อย่างยั่งยืน” นายวุฒิชัย กล่าว
วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายนปีนี้ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) ได้กำหนดแนวทางรณรงค์สู่ “ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” (The UN Decade of Ecosystem Restoration) รวมพลังทั่วโลกอนุรักษ์ปกป้อง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรและเป็นบริษัทผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก มุ่งมั่นร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูระบบนิเวศ และขับเคลื่อนภารกิจสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ./