ลุยดง “หงเป่าสือ” ดูการเกษตรแบบใหม่ เก็บผลผลิต ขยายพันธุ์ ไร่เดียวได้ถึงล้าน

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

    อีกครั้งที่ได้มีโอกาสย้อนไปที่ “สวนสุชาดา”  ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา แหลางท่องเที่ยวเชิงเกษตรเก่าแห่งสวิสเซอร์แลนด์แดนอีสานแห่งนี้ ที่กำลังเปลี่ยนโฉมใหม่กลายเป็นอาณาจักรของไม้ผลจากไต้หวัน โดยฝรั่งไต้หวันไส้แดง “หงเป่าสือ”

    สวนสุชาดา ได้เปลี่ยนโฉมใหม่หลังจากที่ “ณัฏฐวุฒิ กลางอรัญ หรือที่รู้จักในแวดวงการเกษตร “น้าอ้วน บ้านเกษตรพอเพียง” เป็นผู้จัดการสวน พลิกโฉมใหม่จากไร่องุ่นมาปลูกเสาวรสไต้หวันพันธุ์ “หม่าน เทียนซิน” ฝรั่งไต้หวันไส้แดงหงเป่าสือ น้อยหน่าสับปะรด ชมพู่ไถหนาน 3 และอื่นๆอีกหลายชนิด

    “สีสันโลกเกษตร” เว็บไซต์เกษตรทำกินจึงได้หวนกลับสัมผัสสวนฝรั่งไต้หวันไส้แดงหงเป่าสือ อีกครั้งเนื่องจากเห็นว่าเป็นไม้ผลที่กำลังมาแรง และคาดว่าจะเป็นไม้ผล ที่เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทยในยุคที่สินค้าเกษตรลังตกต่ำ และที่สำคัญยิ่งการปลูกพืชตามไตล์ชอง “น้าอ้วน บ้านเกษตรพอเพียง” เป็นการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ที่ไม่เน้นในเรื่องของผลผลิตอย่างเดียว แต่กลับมองทิศทางว่า ตลาดการเกษตรเป็นอย่างไร หากเกษตรกรรายอื่นต้องการขยายต้องรีบขยายพันธุ์ขายทันที อย่าคิดว่าคนอื่นจะเป็นคู่แข่งและมาแย่งตลาดในอนาคต เนื่องเพราะถ้าไม่รีบตักน้ำตอนที่น้ำกำลังขึ้นจะเสียโอกาสให้เจ้าอื่นทันที

     น้าอ้วน บอกด้วยว่า ผลฝรั่งไต้หวันไส้แดงหงเป่าสือ ตลาดต้องการสูงขายเฉพาะหน้าสวนและผ่านอ่อนในราคา กก.ละกว่า 100 บาทไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ขณะที่การขยายกิ่งพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง ต้นฝรั่งไต้หวันไส้แดงหงเป่าสือ 1 ต้นจะมีรายได้ต้นละ 5,000 บาทต่อปี พื้นที่ 1 ไร่หากปลูกขนาด 3×3 เมตรตะได้กว่า 170 ต้น หากขนาด 2×3 เมตร จะได้  260 ต้น เท่ากับว่าพื้นที่ 1 ไร่หาขยายพันธุ์ขายได้อาจถึงล้านบาท  (รายละเอียดในคลิป)

 

    ฝรั่งไต้หวันไส้แดง “หงเป่าสือ” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นฝรั่งทั่วไปเกือบทุกอย่าง เป็นไม้ยืนต้น สูงเต็มที่ราว 5 เมตร  เวลาออกผล รูปทรงกลมแป้นคล้ายผลของฝรั่งสุ่ยมี่  น้ำหนักผลถ้าสมบูรณ์โตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง 500–800 กรัมต่อผล หรืออย่างน้อย 3 ผลต่อ 1 กิโลกรัม ใจกลางผลเป็นสีแดงมาถึงเปลือก  มีเมล็ดน้อยมาก รสชาติหวานกรอบและหอมหากช่างสังเกตกลิ่นออกคล้ายสตรอว์เบอร์รี ไม่แข็ง รับประทานอร่อยมาก คุณสมบัติพอเศษติดผลดกเกือบทั้งปี