ดลมนัส กาเจ
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ยันมาร์
” ภายในพิพิธภัณฑ์ ผู้เข้าชมสามารถฟังเรื่องราว ความไฝ่ฝันในการเอาชนะ ความท้าทายของ นายมาโกกิชิ ยามาโอกะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง และเรียนรู้แง่มุมในการทำเกษตรกรรมและประมง ผ่านโลกจำลองที่น่าตื่นตาตื่นใจ”
ฟ้าสลัวของวันใหม่ หลังจากที่เราได้ไปเยี่ยม ชมอาคาร “Flying-Y” หรืออาคา “รยันมาร์” ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของยันม่าร์ ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิม เมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัท ยันมาร์ จำกัดในปี 2455 ย่านถนนชะยะมาชิ คิตะคุ ใจกลางนครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีล่าสุดจากธุรกิจต่างๆ ของยันม่าร์ ซึ่งเป็นอาคารที่ทันสมัย และเป็นศูนย์กลางในการสื่อสารนวัตกรรมโซลูชั่นของยันม่าร์ไปยังตลาดโลกแล้วเมื่อวันวานแล้ว คณะของเราออกจากนครโอซาก้าอันจอแจด้วยผู้คนมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ปลายทาง “พิพิธภัณฑ์ยันม่าร์” (Yanmar Museum) ที่จังหวัดชิกะ
“พิพิธภัณฑ์ยันม่าร์”ถูกเนรมิตขึ้นเป็นอาคาร 2 ชั้นมีพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ในนิคมอุตสาหกรรมมากาหามะ เมืองใกล้กับบ้านเกิดของ นายมาโกกิชิ ยามาโอกะ ผู้ก่อตั้งยันม่าร์ ที่เมืองนางาฮามาชิ จังหวัดชิกะ โดยพิพิธภัณฑ์ยันม่าร์แห่งนี้ คณะของเรา เป็นคณะสื่อมวลชนคณะที่สองหลังจากที่มีการปรับโฉมใหม่ครั้งใหญ่ที่ได้เข้าชม ก่อนที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันที่ 5 ตุลาคม 2562
ยาโมโตะ โนโบรุ
นายยาโมโตะ โนโบรุ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ยันมาร์ กล่าวในระหว่างการบรรยายสรุปก่อนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ว่า ในพิพิธภัณฑ์ยันมาร์ จะบอกถึงเรื่องราวของธุรกิจยันมาที่ดำเนินการมากกว่า 100 ปีในอดีตและมีเรื่องราวที่มองไปยังอนาคตในอีก 100 ปีข้างหน้า ตามวิสัยทัศน์ “A Sustainable Future” หรืออนาคตที่ยั่งยืน โดยประเมินจากอดีต และปัจจุบัน เป็นปัจจัยที่สู่การพัฒนาในอนาคต
“ยันม่าร์ ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2455 และในปี 2476 ได้เป็นบริษัทแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่เหมาะกับการใช้งานในตลาด นับตั้งแต่นั้นยันม่าร์ได้ขยายจากเครื่องยนต์ดีเซลที่เป็นหัวใจหลักของบริษัท ไปยังผลิตภัณฑ์ บริการ และความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่ครบวงจรในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม” นายยาโมโตะ กล่าว
เขา บอกด้วยว่า ปัจจุบันยันม่าร์มี 7 กลุ่มธุรกิจทั่วโลก ได้แก่ เครื่องยนต์สำหรับเรือเดินทะเล เครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ เครื่องยนต์สำหรับอุตสาหกรรม เครื่องจักรสำหรับก่อสร้าง ระบบพลังงาน เรือสำราญและเครื่องมือ และส่วนประกอบของเครื่องจักรเป็นต้น
“ที่ผ่านมายันมาร์ ได้ปรับเปลี่ยนการไปสู่การเป็นผู้สนับสนุนใน ห่วงโซ่คุณค่าการผลิตอาหาร โดยส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีและช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในทุกช่วงของกระบวนการเกษตรกรรม ยันม่าร์ต้องการสร้างสังคมที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพ จึงได้เดินหน้าพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารในหลายด้าน นับตั้งแต่เครื่องจักรที่มีคุณภาพเหนือกว่าไปจนถึงการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาใช้ อีกทั้งยังสนับสนุนการบริหารจัดการด้านการเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบด้วย” เขา ย้ำ
เคื่องจักรกลการเกษตรรุ่นแรก(ขวาสุด) ยันถึงรุ่นสุดท้าย (ซ้ายสุด)
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ยันมาร์ บอกด้วยว่า หลังจากยันมาร์ครบรอบ 100 ปี และกำลังก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 2 ซึ่งมองว่าอีก 100 ปีข้างหน้ายันมาร์จะไปทางไหน โดยประเมินจากอดีต ที่เคยผลิตเครื่องจักรกลที่มีน้ำหนักถึง 5,800 กก.ประเมินปัจจุบันเป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็กหนักเพียง 120 กก. และกำลังพัฒนาพลังงานสะอาด คือเพื่อเป้าหมายแห่งอนาคต โดยเฉพาะภาคการเกษตรนั้น ยันมาร์มองว่า ในปี 2050 จะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นอีก 20% พื้นที่การเกษตรที่จะผลิตอาหารลดลง 30 % แรงงานภาคการเกษตรจะลดลง 13 % จะทำอย่างไรให้มีอาหาร มีแรงงานเพียงพอ คือต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันมีแรงงานภาคการเกษตรมีเพียง 1 % เท่านั้นและมีอายุมากแล้ว แต่ผลผลิตไม่ได้ลดลง เพราะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เครื่องจักรทำงานแทนคนได้มากขึ้น
“เรามองอนาคตถึงการใช้พลังงานบริสุทธิ์ เรากำลังศึกวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องจักร์กลแห่งอนาคต ถึงขนาดว่า ต่อไปเกษตรกรนอนอยู่กับบ้าน หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัจฉริยะไร้คนขับไปลงในนา ทั้งไถ่นา หรือเกียวข้าว กว่าเกษตรกรจะตื่นจากที่นอน เครื่องจักร์ทำงานให้เสร็จแล้ว นี่คือที่ยันมาร์มองในอนาคต แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ ส่วนที่พัฒนามาแล้วคื่อเครื่องจักรกลการเกษตรไร้คนขับ ได้ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว” ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ยันมาร์ กล่าว
ไม่เพียงแต่ยันมาร์ จะดำเนินกิจการใน 7 กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องจักร์กล และเป็นผู้สนับสนุนใน ห่วงโซ่คุณค่าการผลิตอาหารแล้ว นันมาร์ยังให้ความสำคัญกับกีฬาฟุตบอลมาอย่างยาวนาน โดยยันม่าร์เป็นพันธมิตรหลักของสโมสรฟุตบอลอาชีพในเจลีกอย่างเซเรโซ โอซาก้า(Cerezo Osaka) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 2500 ปัจจุบันยันมาร์มีสนามยันม่าร์ สเตเดี้ยม นากาอิ (Yanmar Stadium Nagai) ซึ่งนอกจากสโมสรเซเรโซ โอซาก้า จะเป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นและเอเชียแล้ว ยังมีส่วนในการสร้างนักเตะที่มีความสามารถมากมาย
ดังนั้นในพิพิธภัณฑ์ยันม่าร์ หลังจากเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 5 ตุลาคม 2562 มีทุกอย่างที่เป็นกิจการของยันมาร์ถูกบรรจุไว้ในพิพิธฑ์แห่งนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์มีปรับเปลี่ยนภายในให้เป็นพื้นที่สำหรับคนรุ่นใหม่ สามารถเข้ามาสัมผัสประสบการณ์เรียนรู้ ผ่านนิทรรศการที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “Challenges towards an exciting future” หรือความท้าทายเพื่อไปสู่อนาคตที่ ตื่นตาตื่นใจ
ภายในพิพิธภัณฑ์ ผู้เข้าชมสามารถฟังเรื่องราว ความไฝ่ฝันในการเอาชนะ ความท้าทายของ นายมาโกกิชิ ยามาโอกะ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง และเรียนรู้แง่มุมในการทำเกษตรกรรมและประมง ผ่านโลกจำลองที่น่าตื่นตาตื่นใจ นอกจากนี้ยังนิทรรศการอื่นๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทดลองขับเรือหรือเครื่องจักรก่อสร้างต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของยันม่าร์มีความหลากหลายทั้งทางเกษตรกรรม ทางทะเล และในเมืองใหญ่ และยังกระตุ้นให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องการผลิตอาหาร การใช้พลังงาน และการพัฒนาเมืองให้มากขึ้น
ด้วยที่ยันม่าร์ ให้ความสำคัญของกีฬาที่จะเป็นพลัง และสร้างความตื่นตัวในสังคม และแน่นอนที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต้องมีสนามกีฬาฟุตบอลถูกบรรไว้ด้วย และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าชมร่วมเล่นกิจกรรมเตะฟุตบอลในสนามจำลองเพื่อเก็บแต็มด้วย
หลังจากฟังบรรยาสรุปแล้ว นายมาโกกิชิ ยามาโอกะ เข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์ เริ่มจากชมวีดีสเตย์ชั่น ห้องโทงซึ่งเป็นที่จัดนิทรรศการถึงเรื่องราวต่างทั้ง 7 กลุ่มธุรกิจ โชว์ธุรกิจทางทะเล เครื่องจักกลการเกษตรยุคใหม่ที่เป็นต้นแบบ และอื่นๆ ร่วมมีการการเล่นเกมส์ต่างๆ อาทิการตกปลา ขับรุขุดดิน เป็นต้น
ชั้นสองเป็นแสดงถึงเครื่องจักรการเกษตรเครื่องแรกของยันมาร์ของโลก จนถึงเครื่องจากจักรกลรุ่นล่าสุดที่จัดภายในห้องจัดนิทรรศการ ส่วนด้านนอกที่โล่งแจ้ง จะมีการจำลอง นาข้าว ที่แช่น้ำแร่ ที่นับแต้มที่เล่นเกมส์ต่างๆ และสุดท้ายที่สำหรับช้อปสาค้าที่ระลึกที่มีเรื่องราวบอกถึงความเป็นมาของยันมาร์และมุมมองยันมาร์ในอนาคต
และแล้วคณะของเราก็อำลา “พิพิธภัณฑ์ยันม่าร์” (Yanmar Museum) เพื่อมุ่งหน้าสู่โรงงานบิวะ อันเป็น โรงงานผลิตผลิตเครื่องจักรกลของยันมาร์ที่ทันสมัยที่สุดในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน