ผลิก”บ้านธรรมชาติล่าง”สู่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชูวิถีชีวิต นอนโฮมสเตย์ ชมพระอาทิตย์ยามเช้า

  •  
  •  
  •  
  •  

        “ทางซีพีเอฟ ก็ร่วมคิดร่วมทำ ประกอบด้วย พลังปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนาโน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับความรู้จากปราชญ์ชุมชนเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพนาโน การทำผ้ามัดย้อมจากธรรมชาติ สัมผัสวิถีประมงพื้นบ้าน วิถีชีวิตการลงเรือหากุ้ง หอย ปู ปลา ที่พักโฮมสเตย์ติดทะเลนั่งชมพระอาทิตย์ตกหน้าเกาะช้าง และได้ลิ้มรสอาหารปริศนาด้วย” 

         ย้อนไปครั้งหนึ่งของ “ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง” ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ชาวชุมชนส่วนใหญ่ยึดอาชีพการเกษตร ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ไร่สับปะรด บางส่วนมีอาชีพทำประมงชายฝั่ง ค้าขาย รับจ้างทั่วไป กระนั้นรายได้รายได้ไม่แน่นอน ขณะที่ต้นการผลิตนับวันจะสูงขึ้น ชาวบ้านจึงหันมารวมกลุ่ม หาแนวทางในการพัฒนาชุมชน และหารายได้เสริม โดยมี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มายื่นมาช่วยเหลือในด้านความคิด แนะนำช่องทางใหม่ๆ ทำให้วันนี้ของชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง กลายเป็นชุมตัวอย่าง ที่ชูอัตลักษณ์วิถีชีวิตชุมชนพื้นบ้าน ที่ต่อยอดเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่แหล่งผลิตปุ๋ยชีวภาพนาโน พัฒนาชุมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเชิงเกษตร ที่บริหารโดยชุมชน จนสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ชีวิตชาวนุมชนอยู่ดีแลกินดีอย่างยั่งยืน 


         นายทองหล่อ วรฉัตร ปราชญ์ชุมชน ในฐานะประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง กล่าวว่า ชาวบ้านในตำบลคลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตร ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ไร่สับปะรด อีกส่วนมีอาชีพทำประมงชายฝั่ง ค้าขาย รับจ้างทั่วไป แต่รายได้จากการทำสวนและทำประมงไม่แน่นอน ต่อมาทางบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เข้ามาสอนทำปุ๋ยหมักชีวภาพนาโน และเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาให้ความรู้ ต่อยอดสู่ศูนย์การเรียนรู้การผลิตปุ๋ยฯ และเตรียมตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านธรรมชาติล่าง จนปัจจุบันชุมชนบ้านธรรมชาติล่างนอกจากจะผลิตปุ๋ยใช้เองในครัวเรือนแล้ว ยังจำหน่ายนอกชุมชนด้วย

         นอกจากนี้ชาวบ้านในชุมชนฯ ได้เรียนรู้การทำอาชีพเสริมอื่นๆ นำมาสู่กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ทางซีพีเอฟ ก็ร่วมคิดร่วมทำ ประกอบด้วย พลังปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนาโน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้รับความรู้จากปราชญ์ชุมชนเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพนาโน การทำผ้ามัดย้อมจากธรรมชาติ สัมผัสวิถีประมงพื้นบ้าน วิถีชีวิตการลงเรือหากุ้ง หอย ปู ปลา ที่พักโฮมสเตย์ติดทะเลนั่งชมพระอาทิตย์ตกหน้าเกาะช้าง ลิ้มรสอาหารปริศนา เป็นการทำอาหารพื้นบ้านที่ปลอดสารพิษประยุกต์เป็นคำทาย และยังได้พบหมอชาวบ้านที่ได้รับรางวัลประจำ จ.ตราด ให้ความรู้ด้านสมุนไพรต่างๆ ทั้งยาขับลมแก้ท้องอืด สมุนไพรจากหมามุ่ย เรียนรู้การทำลูกประคบ กิจกรรมล่องเล โดยมีผู้นำชุมชนเล่าขานตำนานหมู่บ้าน พาล่องเล ลัดเลาะชายฝั่งอ่าวธรรมชาติ ลงสัมผัสหญ้าทะเลซึ่งเป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียวที่มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล เป็นต้น

         ด้านนายโสภณ สร้อยศรี หรือลุงปุ๊ก สมาชิกสภา อบต.หมู่ 6 และเป็นประธานโครงการปุ๋ยหมักชีวภาพนาโน กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังการผลิตปุ๋ยนาโนอยู่ที่ปีละ 30 ตัน ราคาตันละ 10,000 บาท ชุมชนมีรายได้จากการขายปุ๋ยนาโน 300,000 บาทต่อปี ช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนลง ซึ่งสวนผลไม้ของลุงปุ๊กก็นำปุ๋ยชีวภาพนาโนไปใช้ เป็นสวนผลไม้ที่ปลอดสาร ชุมชนยังนำปุ๋ยไปใช้กับป่าชุมชนที่อยู่ติดกับโรงปุ๋ยนาโน ทำให้พืชพันธุ์ที่ปลูกไว้งอกงาม ได้ใช้ประโยชน์ อาทิ เก็บเห็ดยูคา เห็ดขอน เห็ดนกแก้ว มาทำอาหาร ซึ่งในระยะต่อไปจะพัฒนาป่าชุมชนแห่งนี้ให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชุมชนด้วย

         ขณะที่  นางลัดดาวัลย์ ธนะประสพ รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ตั้งของฟาร์มและโรงงานทั่วประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สอดรับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามกลยุทธ์ “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู” ซึ่งบ้านธรรมชาติล่างเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงพื้นบ้าน มีรายได้ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงมรสุมไม่สามารถออกเรือหาปลาได้

         ต่อมาทางผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และเกษตรกรบ้านธรรมชาติล่าง หารือร่วมกับซีพีเอฟที่มีโรงเพาะฟักลูกกุ้งอยู่ในพื้นที่ คิดโครงการเพื่อลดรายจ่ายในการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรมในชุมชน เปลี่ยนจากปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน นอกจากนี้ ได้นำการท่องเที่ยวมาผสมผสานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านและวิถีชีวิตของคนในชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง เพี่อให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

         ก็นับเป็นอีกหนึ่งชมมตัวอย่าง ที่ได้มีการพัฒนาชุมชนด้วยการเอาของดีที่มีอยู่ในท้องถิ่นผนวกกับภูมิปัญญาแห่งชุมชนมาประยุกต์ใช้ด้วยกัน ทำให้วันนี้ของ ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ชาวชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น