ย้อน 10 ปีที่ “คากายันฯ”สัมผัสวิถีชีวิตชาวกาตาล็อกปลดความจนด้วยข้าวโพดบีที

  •  
  •  
  •  
  •  

                   ย้อน 10 ปีที่ “คากายันฯ”สัมผัสวิถีชีวิตชาวกาตาล็อกปลดความจนด้วยข้าวโพดบีที

โดย… ดลมนัส  กาเจ

           “ครอบครัวประสบกับความอยากจน ลูกคนโตต้องออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงาน เพราะต้องต่อสู้กับศัตรูพืชนานนาชนิด ทั้งต้นข้าวโพดแพ้ยาฆ่าวัชพืช  โรคหนอนเจาะลำต้น และฝัก ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายอย่างหนัก ที่สำคัญเขาต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นประจำเพราะแพ้สารเคมี  กระทั่งรัฐบาลให้เกษตรกรอนุญาตให้ปลูกข้าวโพดบีที ตอนนี้ผลผลิตดีขึ้นมาก ฐานะทางบ้านดีขึ้น ลูกได้เรียนหนังสือ” เป็นการยืนยันของเกษตจรชาวกาตาล๊อก

                ประเทศไทยเราได้ปิดฉากการพัฒนาเทคโนโลยรชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรม หรือพืชจีเอ็มโอ แม้การทดลองภาคสนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ได้พัฒนยาไปไกลแล้ว ทั้งฟิลิปปิ่นส์ เวียดนาม อินโดนีซีย และเมียนมาร์ที่มาเงียบๆแอบปลูกฝ้ายบีทีมาหลายปีแล้ว

หากอดีตกว่า 20 ปีที่แล้ว ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีพัฒนาเทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรมพืชที่หลายประเทศในภูมิภาคนี้ต้องมาดูงาน เพราะไทยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาพืชจีเอ็มโอก่อนเพื่อนในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศที่พิษณุโลก และมะละกอที่ขอนแก่น เพราะประเทศไทยมีความพร้อมทั้งห้องแล็ปบุคคลากรที่จบระดับด๊อกเตอร์ในด้านนี้กว่า 200 คน แต่วันนี้เรากลับไปดูงานในประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว

            ฟิลิปปิ่นส์ ประเทศเกษตรกรรม ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืชมากมาก ทำให้ผลผลิตเสียหาย ส่งผลให้เกษตรชาวกาตาล็อก มีสภาพความเป็นอยู่อย่างยกจน รัฐบาลจึงตัดสินใจและทุ่มเทในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพว่าด้วยการตัดแต่งพันธุวิศวกรรมพืช จนประสบผลสำเร็จ และอนุญาติให้เกษตรกรนำข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมหรือที่เรียกง่ายๆว่าข้าวโพดบีที มารถปลูกเป็นการค้าได้ ทำเกษตรกรได้ลืมตา อ้าปากได้ขึ้นมา และที่สำคัญจากอดีตที่ฟิลิปิ่นส์ต้องเข้าข้าวโพดเลี้ยง จนกลายเป็นผู้ส่งออกได้ในวันนี้

           เมื่อ 10 ปี ไปดูงานด้านพัฒนาพืชจีเอ็มที่ฟิลิปปิ่นส์เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 และไปรอบสองเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ปีที่แล้วเอง

            ตอนที่ไปครั้งแรก เป็นการร่วมงานตามโครงการ “แลกเปลี่ยนเกษตรกรอาเซียน ปี 2008”  (Asian Famers Exchange 2008)  ที่เมืองลอสบาโนส (Los Banos ชาวกาตาล็อกเรียกว่าลอสบันโยส”  จ.ลากูนา และเมืองคากายัน วัลเล่ย์  บนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งตรงวันอังคารที่ 5 สิงหาคม 2551  

[adrotate banner=”3″]

          หลังจากที่ดูงานที่เมืองลอสปันโยสแล้ว 2 วัน คณะตัวแทนที่ไปประกอบด้วยฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ แล้วก็มี อินเดีย  จีน  อินโดนีเซีย  ไทย และเวียดนาม ออกจากโรงแรมโอเอซีสที่พัก มุ่งหน้าสู่สนามบินนานาชาติกรุงมะนิลา เพื่อขึ้นเครื่องบินภายในประเทศฟิลิปปินส์เดินทางต่อไปยังเมืองคากายัน วัลเล่ย์ เกือบเหนือสุดของเกาะลูซอน เพื่อลงแปลงดูเกษตรกรปลูกข้าวโพดลูกผสม และข้าวโพดที่ใช้เทคโลยีชีวภาพในการตัดต่อยีน หรือการตัดแต่งพันธุวิศวกรรม (ข้าวโพดบีที)   เนื่องเพราะฟิลิปินส์ในตอนนั้น ถือเป็นประเทศ 1 ใน 23 ประเทศของโลกที่รัฐบาลอนุญาติให้เกษตรกรปลูกพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นาเพื่อการค้าได้อย่างเสรี (ปัจจุบัน 29 ประเทศ)

            ตอนนั้นงานวิจัยข้าวโพดบีทีในประเทศฟิลิปปินส์ก้าวหน้าไปมากแล้ว มีการวางแผนการจัดการแบบครบวงจรตั้งแต่การเตรียมพื้นที่  การชลประทาน  การใช้ปุ๋ย  การส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลในการจัดการแปลงข้าวโพดในสื่อต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียน  วิทยุ  โทรทัศน์  การให้ทุนกู้ยืม วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว  การลดความชื้นหลังเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ และการสนับสนุนเรื่องเมล็ดพันธุ์รวมถึงเครื่องมือต่าง ๆ สนับสนุนให้ใช้ไบโอคอนโทรน (Bio-control) และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            นายอับราฮาม  มานาโล (Mr.Abraham Manaio) ตอนนั้นเป็นเลขาธิการฝ่ายบริการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งฟิลิปปินส์ กล่าวในการต้อนรับในวันแรกที่โรงแรมโอเอซีสว่า ฟิลิปปินส์มีการศึกษาด้านพืชเทคโนชีวภาพหลายชนิดด้วยกัน แต่พืชที่สำคัญและเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ คือ ข้าวโพด เพราะที่ผ่านเกษตรกรประสบปัญหาการเข้าทำลายของหนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝัก ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ทำให้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด

             โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมเข้ามาช่วย ทำให้ได้ข้าวโพดสามารถทนทานต่อสารกำจัดวัชพืช และพันธุ์ข้าวโพดที่สามารถต้านทานหนอนเจาะลำต้น และทนทานสารกำจัดวัชพืชและต้านทานหนอนเจาะลำต้นในพันธุ์เดียวกัน  ซึ่งข้าวโพดทั้ง 3 แบบได้รับความนิยมปลูกกันมากในฟิลิปปินส์ จนทำให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นจากข้าวโพดปกติที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4-4.5 ตันต่อเฮกตาร์ แต่ข้าวโพดจีเอ็มให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-8 ตันต่อเฮกตาร์  สามารถลดการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศถึง 50% จากเดิมมีการนำเข้า 200 ตันต่อปี เหลือ 100 ตันต่อปีเท่านั้น

                                                                                                          ซ้ายมือเป็นแปลงข้าวโพดพื้นเมือง  ขวาเป็นแปลงข่าวโพดลูกผสม

            “รัฐบาลฟิลิปปินส์อนุญาตให้มีการปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ เป็นการค้าได้เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2002 ( พ.ศ.2545) ในปีแรกมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดจีเอ็ม 1,000-2,000 เฮกตาร์ ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 เฮกตาร์ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรฟิลิปปินส์ 6-8 หมื่นเปโซต่อเฮกตาร์ (1 เปโซ = 0.90 บาท) โดยราคาขายข้าวโพดเฉลี่ยอยู่ที่ 10-11 เปโซ/กก.” เขา กล่าว

            เราออกเดินทางเพื่อลงไปดูแปลงข้าวโพดจริง ก็ตอนสายของอีกวันหนึ่งเป็นวันที่สี่ของการเดินทาง (6 ส.ค.) ไปดูหลายจุด หลายพื้นที่ในชนบทรอบๆเมืองเมืองคากายัน วัลเล่ย์ ในรัศมีไม่เกิน  100 กม. โดยมี ดร.วิคเตอร์  อัลเพอร์โต (Dr.Victor  Alpuerto) ผู้อำนวยการฝ่ายการค้า บริษัท มอนซานโต แห่งฟิลิปปินส์(ตอนนั้น) เป็นหัวหน้าทีม            จุดแรกไปพบกับกลุ่มแกนนำเกษตร มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการปลุกข้าวโพดและรับประทานอาหารกล่องร่วมกัน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง

ดร.วิคเตอร์ กล่าวว่า ในประเทศฟิลิปปินส์ ปลูกแต่ข้าวโพดลูกผสมกับข้าวโพดบีทีเท่านั้น เนื่องจากให้ผลผลิตสูงกว่าพื้นเมืองถึง 50% แต่ถ้านำเมล็ดของข้าวโพดบีที หรือเมล็ดข้าวโพดลูกผสมมาทำเป้นเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตจะด้อยกว่าผลผลิตข้าวโพดพื้นเมืองเสียอีก แต่กระนั้นยอมรับว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจีเอ็มโอจะสูงกว่า คือหากเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดต้านทานหนอนเจาะลำต้นราคาขายคิดเงินไทยตก กก.ละ  217  บาท  ,เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทนทานสารกำจัดวัชพืช กก.ละ 236  บาท และถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดต้านทานหนอนเจาะลำต้นและทนทานสารกำจัดวัชพืชราคาขายอยู่ที่ กก.ละ  299  บาท อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวจีเอ็มโอจะให้ผลผลิตดีต้องปฏิบัติให้ถูขั้นตอนด้วย

            นายลิวไฟโด เกษตรกรรายหนึ่ง เล่าว่า เขามีที่ทำกินกว่า  6 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ : 6.25 ไร่) เดิมปลูกข้าวอาหารสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ครอบครัวประสบกับความอยากจน ลูกคนโตต้องออกจากโรงเรียนเพื่อช่วยทำงาน เพราะต้องต่อสู้กับศัตรูพืชนานนาชนิด ทั้งต้นข้าวโพดแพ้ยาฆ่าวัชพืช  โรคหนอนเจาะลำต้น และฝัก ส่งผลให้ผลผลิตเสียหายอย่างหนัก ที่สำคัญเขาต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นประจำเพราะแพ้สารเคมี ตอนหลังหันมาปลูกพันธุ์ลูกผสมก็เริ่มดีขึ้น กระทั่งรัฐบาลให้เกษตรกรอนุญาตให้ปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ ตอนนี้ผลผลิตดีขึ้นมาก ฐานะทางบ้านดีขึ้น ลูกได้เรียนหนังสือ ตัวเขาเองมีรถจักรยานยนต์ขี่แล้ว

                                                                                                     เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์โชว์ผลผลิตข้าวโพดบีที   

หลังอาหารเที่ยงท้องครึ้มแดดครึ้มฝนคณะของเราลัดเลาะตามทางเดินราว 150 เมตร ไปดูแปลงข้าวโพดจีเอ็มโอของชาวบ้าน ก่อนเดินทางไปดูแปลงทดลองอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการปลูกข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง ข้าวโพดลูกผสม ข้าวโพดจีเอ็มโอ และข้าวโพดที่นำเมล็ดพันธุ์จากข้าวโพดจีเอ็มโอมาเพาะปลูก ซึ่งพบว่า ข้าวโพดที่นำเมล็ดจากข้าวโพดจีเอ็มโอมาเพาะปลูกมีคุณภาพด้วยที่สุด ลำต้นเล็ก ผลผลิต ไร้คุณภาพยิ่งกว่าข้าวโพดพื้นเมืองเสียอีก สวนข้าวโพดลูกผสมกับข้าวโพดจีเอ็มโอ สภาพความสมบูรณ์ของลำต้นใกล้เคียงกัน แต่ผลผลิตข้าวโพดจีเอ็มโอจะดีกว่า เนื่องเพราะปราศจากศัตรูพืชนั่นเอง (เป็นแปลงจัดฉาก)

               จากวันนั้นที่ฟิลิปปิ่นส์ ที่สามารถลดการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศถึง 50% จากเดิมมีการนำเข้า 200 ตันต่อปี เหลือ 100 ตันต่อปีนั้น 10 ให้หลังมาถึงวันนี้ ฟิลิปปิ่นส์ส่งออกข้าวโพดแล้ว