“เดดซี”แหล่งวัตถุดิบผลิตปุ๋ยโปแตชของอิสราเอล-จอร์แดนน้ำลดฮวบ!! เสียดายไปแล้วไม่ได้เล่นน้ำ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส กาเจ

กลับมาแล้วนึกเสียดายว่า ตอนนั้นได้มีโอกาสไปแล้ว ทำไมเราไม่ลงไปเล่นน้ำ พอกโคลนใน “ทะเลเดดซี” ไปทั้งที่ควรจะลงไปเล่นไว้เป็นความทรงจำ เพราะโอกาสที่จะได้ไปสัมผัสอีกครั้งคงไม่ง่ายนัก เพราะเพียงแต่ความคิด ณ ตอนนั้นคือเก็บภาพนิ่ง และวีดีโอเผื่อมาใช้งานเขียนได้ และออกในรายการทีวีดาวเทียม “คมชัดลึกทีวี” ที่เรามีรายการเกษตรอยู่ “เกษตรทำกิน” อันที่มาของของเว็บไซต์ “เกษตรทำกิน” (KASETTUMKIN.COM) ในวันนี้

เนื่องเพราะทะเลเดดซีนั้น ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หากแต่เราได้ทราบจากวิทยากรชาวอิสราเอลระหว่างที่เราเข้าไปดูงานระบบน้ำหยด น้ำฝอย และสปิงเกอร์ที่นิคม “คิบบุทซ์” ของอิสราเอล เขาบอกว่า ทะเลเดดซีนั้นเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่สุดในโลก และเป็นแหล่งที่ทั้งอิสราเอลและจอร์แดนต่างเอาน้ำทะเลที่เค็มอยู่ที่ 342 กรัม/กิโลกรัม หรือ 34.2% มาเป็นวัตถุดิบมาผลิตปุ๋ยโปแตสเซียม หากย้อนอดีตรวมถึงผลิตยางมะตอย ที่ใช้สำหรับมัมมีอียิปต์สมัยก่อน จึงไม่แปลกเลยว่า ทำไมน้ำในทะเลเดดซีจึงลดฮวบอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพื้นผิวน้ำในอยู่ที่ 605 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ใน ค.ศ. 1930 พื้นผิวน้ำอยู่ในระดับ 1,050 ตารางกิโลเมตร

ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dead Sea ภาษาฮีบรู เรียกว่ายัม ฮาเมลาห์ ภาษาอาหรับว่า อัลบะห์รุลมัยต์ อยู่บนรอยตะเข็บชายแดนของประเทศจอร์แดนทางตะวันออก และเวสต์แบงก์กับอิสราเอลทางตะวันตก เมื่อ 5 ปีก่อน พื้นผิวทะเลสาบอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 430.5 เมตร (1,412 ฟุต)  ทำให้เป็นชายฝั่งที่ต่ำที่สุดในโลก มีความลึก 304 เมตร หรือ 997 ฟุต ถือเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ลึกที่สุดในโลก มีความเค็มของน้ำอยู่ที่ 342 กรัม/กิโลกรัม หรือ 34.2%  ทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่เค็มที่สุดในโลก มีความหนาแน่นที่ 1.24 กิโลกรัม/ลิตร  ทำให้คนที่ลงไปว่ายน้ำลอยตัวขึ้น ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวเดินทางมายังทะเลเดดซีทั้งมาในประเทศอิสราเอล จอร์แดน และเวสต์แบงก์