10 ข่าวเด่นในวงการเกษตร-อาชีพ ในปีกระต่าย ปีทองทุเรียนไทย-หมูเถื่อนทะลัก-คูโบต้าพลิกโฉมเทคโนโลยีการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

ในรอบปีกระต่าย ปี 2566 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง ก็มีข่าวคราวที่แวดวงการเกษตร อาชีพ ที่เป็นผลดีและผลกระทบต่อภาคการเกษตร อาชีพ และผลิตภัณฑ์ชุมชนมามาย ที่เป็นข่าวใหญ่พอจะสรุปได้ดังนี้

 1.หมู-เนื้อ เถื่อนทะลักคาดถึง  4 หมื่นตัน

ท่ามกลางที่ประเทศไทยที่เคยประกาศด้วยความภาคภูมิใจในการป้องกันโรคร้ายในวงการปศุสัตว์โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร  ทำให้ไทยส่งออกสุกรจำนวนมากมาตั้งแต่ปี 2564 แต่ปีนี้ปี 2666 กลับเป็นว่ามีเนื้อสุกรทะลักเข้ามาจากต่างประทศอย่างผิดกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “หมูเถื่อน” รวมถึงเนื้อวัวด้วย เข้ามาในประเทศไทยจำนวนมหาศาล ส่งผลกระทบต่อราคาหมู่ภายในประเทศรวมถึงกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรด้วย

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บอกว่า  ปัญหาใหญ่ที่สุดของผู้เลี้ยงหมูขณะนี้คือ “หมูเถื่อน” คาดว่ามีมากกว่า 40,000 ตัน ถูกลักลอบนำเข้ามาบิดเบือนกลไกราคาและกลไกตลาดในประเทศ ขายกดราคาต่ำมากหมูไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ทำให้อุตสาหกรรมสุกรไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง

ในที่สุดเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูขอเรียกร้องให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผลักดันให้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) เดินหน้าโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร ให้สามารถขายหมูได้ตามโครงสร้างต้นทุนการผลิตเร่งด่วน

2.ประกาศสงครามสินค้าเกษตรเถื่อน

ไม่เพียงแต่ปัญหาหมูเถื่อนทะลักเข้ามาในราชอาณาจักร หากแต่สินค้าเกษตรอื่นที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ทั้งข้าว พันธุ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ แม้แต่ตีนไก่ และอื่นๆ ทำให้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศที่จะทำสงครามกับขบวนนำการสินค้าเกษตรเถื่อนมาในประเทศไทย โดยบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ  กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมส่งเสริมการเกษตร

อย่างกรณีบุกห้องเย็น 107 จุด ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด จันทบุรี ระยอง ระนอง กาญจนบุรี และสมุทรปราการ และมีการตรวจสอบห้องเย็นด้านปศุสัตว์ 2,437 แห่ง และด้านประมง 2,062 แห่ง ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นต้น รวมถึงการปราบผู้ลักลอบนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมาย รวมถึงปราบปรามยางพาราผิดกฎหมาย จนมีการจับกุมทั้งรายย่อยรายใหญ่อย่างกรณีหมูเถื่อน จำนวน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวม 4,363,118 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 500 ล้านบาทที่ถูกฝังกลบ แต่กระนั้นก็ปราบไม่หมดจนกวันนี้ถึงทุกวันนี้

3.ราคายางตกต่ำสุดๆ

พลั้นทีขึ้นปีใหม่ต้อนรับปีกระต่าย (ปี 2566) เปิดตลาดยางพารา ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ราคายางที่โรงงานในท้องถิ่นรับซื้อในราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ราคา กก.ละ 42.90 ชาวบ้านขายจริงในพื้นที่ไม่ถึง กก.ละ 40 บาท น้ำยางสด กก.ละ 42.50 บาทชาวสวนยางขายจริงก็ไม่ถึง กก.40 บาท และตกต่ำสุดๆในเดือนกรกฎาคม ยางแผ่นดิบชั้น 3 กก.ละ 42.75 บาท ยางสด กก.ละ 41.00 บาทเกษตรกรขายจริงอยู่ราวๆ กก.ละ 37-38 บาท และราคายางพาราขยับขึ้นหลังจากตั้งรัฐบาลชุดใหม่ กระทั้งสิ้นปี ราคายางยางแผ่นดิบชั้น 3 ราคา กก.ละ 51.50 บาท ส่วนน้ำยางสด กก.ละ 52.40 บาท

4.ปีทองส่งออกทุเรียนไปจีน คาดทะลุมูลค่า 2 แสนล้าน

ต้องยอมรับว่าปี 2566 การส่งออกทุเรียนไทยถือว่าบูมสุดๆ โดยเฉพาะไปยังตลาดจีน ซึ่งช่วงครึ่งแรกของปี 2566 การส่งออกทุเรียนของไทยไปยังจีนครองแชมป์ด้วยปริมาณ 600,000 ตัน สร้างมูลค่าการส่งออกกว่า 1 แสนล้านบาท โดยใช้เส้นทางการส่งออก ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯตั้งเป้าให้ถึง 2 แสนล้านบาทภายในปีนี้ และtเชื่อมั่นว่าทุเรียนไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก เป็นทุเรียนมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานส่งออก มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดจีนรวมไปถึงตลาดทั่วโลกได้

5.แจกโฉนดที่ ส.ป.ก. 4-01 มาเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร กว่า 2 ล้านไร่

ทันทีที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศชัดเจนว่า จะผลักดันผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีเอกสานสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 จะให้เป็นโฉนด และแล้วนการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เห็นด้วยให้ออกเป็น “โฉนดเพื่อการเกษตร”

ล่าสุดเป็นที่ชัดเจนแล้ว ร้อยเอก ธรรมนัส เปิดเผยผลการประชุม คปก. และประกาศชัด ออก “โฉนดเพื่อการเกษตร” ในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีเอกสานสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 เป็นของขวัญปีใหม่ให้เกษตรกรและจะ Kick off พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่  15 มกราคม 25 67 มีเกษตรกรที่เข้าเงื่อนไข จำนวน 1,628,520 ราย เอกสารสิทธิรวม 2,205,561 ฉบับ เนื้อที่รวม 22,079,407.67 ไร่

6.พักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย

จากการที่ประเทศไทยยังในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ ในที่สุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวให้พักหนี้เกษตรกรรายย่อย เฟสแรก 2.7 ล้านราย พร้อมจัดโครงการฝึกอบรมอาชีพลูกหนี้ – ปล่อยกู้ใหม่เพิ่มไม่เกิน 100,000 บาท/ราย เริ่ม 1 ต.ค. 2566 – 30 ก.ย. 2567

ทั้งนี้นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง  เปิดเผยว่า การประชุม ครม.เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 1 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ของธนาคารเอการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าวภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”  ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 – 12 กันยายน 2566 โดยรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณมาชดเชยภาระดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส.วงเงิน 11,096 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาท ใช้ในโครงการการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส.ที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว

สำหรับ มาตรการพักชำระหนี้ ลูกค้ารายย่อยของ ธ.ก.ส.ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ทุกสัญญารวมกันไม่เกิน 300,000 บาท ณ มีลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการกว่า 2 ล้านราย ยอดหนี้ทั้งหมด 283,000 ล้านบาท

7.ค่าย “สยามคูโบต้า” พลิกโฉมเทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่

นับเป็นการปฏิรูปวงการเกษตรกรรมในบ้านเราครั้งใหญ่ใน จากเกษตรแบบเดิมกำลังก้าวเข้าสู่การเกษตรยุคใหม่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และคนไทยได้สัมผัสมาแล้ว ในงาน “KUBOTA FARM FEST 2022” ที่จัดครั้งแรกในไทย ภายใต้แนวคิด “ฟาร์มเพาะสุข “ณ คูโบต้าฟาร์ม อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565

ในงานนี้ บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เปิดตัวนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งอนาคตที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น โชว์ศักยภาพแบบจัดเต็ม โดยเฉพาะในโซนนวัตกรรมการเกษตร (Agri-Innovation Showcase) ที่จัดแสดงในบรรยากาศพื้นที่เพาะปลูกจริง อาทิ นวัตกรรมเครื่องจักรกลเกษตรอัตโนมัติ จัดแสดงแทรกเตอร์  รถดำนา และรถเกี่ยวนวดข้าว ด้วยเทคโนโลยีการทำงานแบบไร้คนขับจากประเทศญี่ปุ่น โดรนการเกษตร นวัตกรรมเพื่อการเพาะปลูกผัก จัดแสดงเครื่องจักรฯ ในการเพาะปลูกผักอย่างครบวงจร อาทิ เครื่องหยอดเมล็ดผัก เครื่องปลูกหัวหอม นวัตกรรมเทคโนโลยี

นอกจากนี้ โซนคูโบต้า เอ็กซ์โป (KUBOTA Expo) ซึ่งจัดแสดงสินค้าและบริการจากสยามคูโบต้าพร้อมด้วยพันธมิต ไฮไลท์ในโซนนี้ คือ แทรกเตอร์ EV (Electric Vehicle) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ที่คูโบต้าญี่ปุ่นส่งตรงมาจัดแสดงโชว์ในครั้งนี้

8.เปิดเส้นทางส่งออกสินค้าเกษตรไทยทางรถไฟสู่จีน-รัสเซีย-ยุโรป

ปล่อยเรียบร้อยแล้ว ขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ ส่งสินค้าเกษตรไทยไปขายจีน รัสเซีย และยุโรป ประเดิมนำข้าวหอมมะลิ ทุเรียนแช่แข็ง และยางพาราไปยังนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีนสร้าง  หวังรายได้สู่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

  เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมานี่เอง ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ เพื่อส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรไปยังนครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย และสหภาพยุโรป ณ สถานีรถไฟมาบตาพุด จังหวัดระยอง ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการขับเคลื่อนการเปิดขยายตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ จากเดิมที่เคยส่งทางบกด้วยรถยนต์ ทางน้ำ และอากาศมาเพิ่มเป็นทางรถไฟอีกทางหนึ่งที่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้

9.เพิ่มเวลาทำประมงอีก 20-50 วัน

การประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566 มี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้เพิ่มวันทำการประมงตามที่กรมประมงเสนอ โดยเพิ่มวันทำการประมง อีก 20-50 วัน ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับชาวประมง

นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง บอกว่า  ในรอบปีการประมง 2566 คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ได้มีการจัดสรรวันทำการประมงเพื่อควบคุมกลุ่มเรือที่ใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงโดยฝั่งอ่าวไทยมีการควบคุมวันทำการประมงในสัตว์น้ำหน้าดินและปลาผิวน้ำ 240 วัน และปลากะตัก 255 วัน ในฝั่งทะเลอันดามันมีการควบคุมวันทำการประมงในสัตว์น้ำหน้าดิน 270 วัน ปลาผิวน้ำ 255 วัน และปลากะตัก 225 วัน

ต่อไปฝั่งอ่าวไทย  กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำหน้าดิน จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 50 วัน,  กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำ จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 50 วัน, กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตัก จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 30 วัน,

ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน  กลุ่มเครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำหน้าดิน จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 20 วัน, กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลาผิวน้ำ จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 30 วัน,  กลุ่มเครื่องมือทำการประมงปลากะตัก จัดสรรวันทำการประมงเพิ่ม จำนวน 50 วัน (โดยการจัดสรรวันทำการประมงเพิ่มเติมสำหรับเรือประมงแต่ละลำขึ้นอยู่กับจำนวนวันทำการประมงที่เหลืออยู่ของเรือประมงลำนั้น) ชาวประมงสามารถทำการประมง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

10.ให้หน่วยงานภาครัฐ ใช้ผลิตภัณฑ์จากยางที่ผลิตในประเทศไทย

นับเป็นการเอาจริงเอาจังเป็นครั้งแรกที่ให้หน่วยงานภาครัฐ ใช้ผลิตภัณฑ์จากยางที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับยางพาราราคายางพารา ตามแนวคิดของ  ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือการเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผลิตภัณฑ์จากยางของหน่วยงานภาครัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยางพาราในการทำถนนยางพาราซอยซีเมนต์ ของหน่วยภาครัฐที่จะต้องทำถนน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางได้ในปริมาณที่มากแล้ว ถนนยังมีความทนทานมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น สามารถป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดี ลดการเกิดฝุ่นอีกด้วย เบื้องต้นได้หารือกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับให้รถยนต์ของหน่วยราชการใช้ล้อยางที่การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ผลิต โดยออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป