“น้อยโหน่ง” ไม้ผลหายาก กินแล้วเป็นยา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…นายสวีสอง

จำกันได้เมื่่อครั้งยังเป็นเด็ก แถวๆบ้านที่ อ.เทพาจ.สงขลา ชาวบ้านนิยมปลูก “น้อยโหน่ง” กันบ้านละ 1-2 ต้น เป็นเสมือนหนึ่งเป็นไม้ประดับกินได้ ปลูกให้สวยงาม  เวลาออกดอกจะส่งกลิ่นหวานในยามมืดค่ำหรือกลางคืย ออกผลดก และเวลาออกผลดูแล้วสวยงามากห้อยระย้าเต็มต้น พอผลสุกเอามารับประทานเป็นผลไม้รสหวาน มัน เนื้อเยอะ มีพรรณคุณเป็นยาสมุนไพรช่วยบรรเทาโรคหลายอย่าง แต่ปัจจบันกลายไม้ผลหายาก กลับบ้านก็ไม่เห็นอีกเลย

เมื่อหลายปีก่อน ไปพบในงานเกษตรแฟร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ เลยซื้อกิ่งพันธุ์มาให้น้องๆปลุกที่สวนแสวงหา จ.อ่างทอง ตอนนี้ออกดอกออกผลให้ได้รับประทานกันแล้ว เป็นพืชอยู่กลุ่มเดียวกันกับน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า

ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปากร ระบุว่า “น้อยโหน่ง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Annona reticulata L. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และเชื่อว่าได้มีการนำเข้ามาในไทยในสมัยอยุธยา โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูงของลำต้นประมาณ 5-8 เมตร   เปลือกต้นแก่มีสีเทา

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ โคนใบแหลม ใบสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อคล้าย ๆ กับดอกน้อยหน่า ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกค่อนข้างหนา มีกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว และดอกมีกลิ่นหอมแบบเอียน ๆ

ผล  รูปทรงกลมรี คล้ายรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว มีขนาดใหญ่กว่าผลน้อยหน่า ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจาง ๆ ปนแดงเรื่อ ๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนา สีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวาน มัน แต่ไม่เท่าน้อยหน่ามีกลิ่นออกฉุนนิดๆ

การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือทาบกิ่ง

ตามข้อมูล ระบุว่ามีประโยชน์ทางสมุนไพรค่อนข้างเอยะอาทิผล ใช้รับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวานมัน แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้โรคซาง แก้ลมจุกเสียด แก้พยาธิในท้องและพยาธิผิวหนัง ส่วนราก แก้เหงือกบวม  เปลือกต้น แก้บิดท้องเสีย ขณะที่ใบ ใช้ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้ฟกบวมเป็นต้น