เตือนภัยผู้ปลูกพริก ระวังแมลงวันทอง-โรคกุ้งแห้งระบาด ช่วงผลเริ่มสุกยันใกล้เปลี่ยนสี

  •  
  •  
  •  
  •  
กรมวิชาการเกษตร ออกเตือนภัยผู้ปลูกพริก ให้เฝ้าระวังแมลงวันทองและโรคกุ้งแห้งทำลายช่วงผลเริ่มสุกและใกล้เปลี่ยนสี แนะวิธีการป้องกัน ให้ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บผลพริกที่ร่วงหล่นนำออกไปทำลายนอกแปลงปลูก หากพบการระบาดต้องกำจัดอย่างถูกวิธี

       นายศรุต  สุทธิอารมณ์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  กรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า ในช่วงที่พริกอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต และเก็บเกี่ยวผลผลิต ขอให้ระวังแมลงวันทองพริกระบาดทำความเสียหายให้กับผลผลิต โดยตัวเต็มวัยจะวางไข่ในระยะผลพริกใกล้เปลี่ยนสีไปจนกระทั่งผลสุก หนอนกัดกินชอนไชอยู่ภายในผลพริก ทำให้ผลพริกเน่า ร่วงหล่น เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเจาะออกมาเข้าดักแด้ในดิน  

       วิธีการป้องกันกำจัดให้ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บผลพริกที่ร่วงหล่นนำออกไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวันทองพริก  เมื่อพบการระบาด ให้ใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรโดยเน้นพ่นที่ผลพริกทุก 5 – 7 วัน

        ในกรณีพื้นที่ที่พบการระบาดเป็นประจำ พ่นครั้งแรกเมื่อพริกเริ่มติดผล และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 5-7 วัน  ใช้วิธีผสมสาน โดยการใช้เหยื่อพิษโปรตีน[มาลาไทออน 83% EC + ยีสต์โปรตีนออโตไลเซท อัตรา 10 มิลลิลิตร + 200 มิลิลิตรต่อน้ำ 5 ลิตร ร่วมกับการใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% EC อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพริกติดผล  ใช้เหยื่อพิษโปรตีนในรูปแบบกับดักติดตั้งรอบแปลงปลูก ที่ระยะห่างระหว่างกับดักทุก 10 เมตร ทำการเปลี่ยนเหยื่อพิษโปรตีนใหม่ทุกสัปดาห์ ร่วมกับการใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ทุกสัปดาห์  พ่นเหยื่อพิษโปรตีนเป็นจุดรอบแปลงต้นละจุด แต่ละจุดห่างกัน 5 เมตร ร่วมกับการใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ พ่นทุกสัปดาห์

นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังโรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง  โดยโรคนี้มักพบบนผลพริกที่เริ่มสุกหรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกเป็นจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ในสภาพที่อากาศชื้นจะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ผลเน่า ผลพริกที่เป็นโรคนี้จะโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง และร่วงก่อนเก็บเกี่ยว

อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีต้องเริ่มที่เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าจากแหล่งที่ปราศจากโรค หรือถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ต้องเลือกจากผลพริกที่ไม่เป็นโรค  และควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที ก่อนเพาะจัดระยะปลูกพริกให้เหมาะสม ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แปลงปลูกมีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค  หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

        เมื่อพบผลพริกเป็นโรค เก็บนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค  หากพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อะซอกซีสโตรบิน 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโพรคลอราซ 50% WP อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน  สำหรับในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรงควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของโรค

“วันทองพริกจะพบกับ ประสบการณ์ช่ ที่ผลพวงผลพวงที่มีผลปร… ุุุดในเดือน มีแนวโน้มว่าจะไป ผลสอบ ในเดือน ก.ค. มักพบใข่วงที่ผลพริกจะสงสัย หรือป… ประโยขน์ที่ท้าทายวัชญ์ในแปลงที่มีแนวโน้มจะเกิด ผลพริกให้เก็บบ… ท้าทายทำลาย ท้าทาย แปลง หาแหล่งแหล่งเพาะพันธุ์และเชื้ืื้ืออความคุ้นเคยกับสถานที่คุ้นเคยเป็นประดิษ… กล้าท้าทายที่จะขัดขืน” นายศรุต