โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
วันนี้ขอเล่าเรื่องปลาครับ มีปลาที่แก้ไขยีนด้วย CRISPR จำนวน 2 ชนิด ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ในญี่ปุ่นแล้ว ทำให้ญี่ปุ่นในปัจจุบันมีอาหารที่ผ่านการแก้ไขยีนด้วย CRISPR ที่ได้รับการอนุญาตแล้วจำนวน 3 รายการ
ปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันปลาแห่งภูมิภาค (Regional Fish Institute) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) และมหาวิทยาลัยคินได (Kindai University)
ปลาชนิดแรก คือ ปลาปักเป้าเสือ (tiger pufferfish)ที่แก้ไขยีนด้วย CRISPR เพื่อทำให้ยีนตัวจับโปรตีนเลปติน (leptin receptor gene ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร) หยุดทำงาน ส่งผลให้ความอยากอาหารของปลาเพิ่มขึ้นและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนปลาชนิดที่สอง คือ ปลาทรายแดง(sea breamfish) ที่แก้ไขยีนด้วย CRISPR เพื่อปิดการทำงานของโปรตีน myostatin (โปรตีนที่ควบคุมการเติบโตของกล้ามเนื้อไม่ให้โตเกินไป)ทำให้มีขนาดตัวโตกว่าปลาทรายแดงทั่วไป เมื่อใช้ปริมาณอาหารเท่ากัน ด้วยการแก้ไขยีนของปลาทั้ง 2 ลักษณะนี้คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงปลาได้
ครับ น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับคนญี่ปุ่นที่ชอบทานปลา ซึ่งน่าจะซื้อปลาได้ในราคาที่ถูกลง
อ่านเพื่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41587-021-01197-8