วิจัยชี้ “เลิกดื่มวัยกลางคน” เสี่ยง “สมองเสื่อม”

  •  
  •  
  •  
  •  

TO GO WITH AFP STORY BY LAETITIA PERON
A picture taken on August 26, 2011 shows a man holding a glass of beer in a Moscow’s outdoor pub. With a stroke of the presidential pen, beer was recently reclassified as an alcoholic drink in Russia, no longer a foodstuff, and its sales are to be restricted to cut alcohol abuse. But starting January 2013 a new licensing law signed by President Dmitry Medvedev will ban beer sales from 11 pm to 8 am except in bars and cafes. AFP PHOTO/ DMITRY KOSTYUKOV
AFP PHOTO/ DMITRY KOSTYUKOV

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ผลการศึกษาด้านสุขภาพว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักและเลิกดื่มถาวรในช่วงวัยกลางคนมีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมเมื่อแก่ตัวลง หลังติดตามสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพของชาวอังกฤษที่ทำงานในลอนดอนอายุ 35- 55 ปี จำนวน 9,087 คน ในขณะที่เริ่มงานวิจัยเมื่อปี 1980

งานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Britist Medical Journal (BMJ) ระบุว่า คนที่เลิกดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวัยกลางคนมีความเสี่ยงสูง 45 % ที่จะเป็นเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนที่ดื่ม 1-14 ครั้งต่อสัปดาห์

โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 50 ปี ได้รับการติดตามข้อมูลการดื่มระหว่างปี 1985-1993เป็นระยะเวลาประมาณ 23 ปี จากทั้งข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาล หน่วยบริการด้านสุขภาพจิต และการแจ้งเสียชีวิต โดยมีผลมาจากภาวะสมองเสื่อม 397 ราย

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยจากอังกฤษและฝรั่งเศสยังระบุว่า นอกจากผู้ที่เลิกดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวัยกลางคนจะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจด้วย

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ : อ่านเพิ่มเติม :https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-198787