พบกับเรื่องราวที่ไม่เล็กของมดไทย…เปิดตัว “แมลงมัน” ครบวงจรครั้งแรก ในงานประชุมวิชาการเครือข่ายการศึกษามดในประเทศไทย ครั้งที่ 6

 

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ เครือข่ายการศึกษามดในประเทศไทย ANeT Thai และพันธมิตร จัดงานประชุมวิชาการเครือข่ายการศึกษามดในประเทศไทย ครั้งที่ 6 ในวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ ห้องประชุมจงรักปรีชานนท์ ตึกวนศาสตร์ 72 ปี คณะ  วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของมดในประเทศไทย ความสำคัญของมดต่อโลกใบนี้ รวมถึงการวิจัยเรื่องมด ซึ่งช่วยสร้างสังคมให้มีความตระหนักและเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันของคน สิ่งมีชีวิต และธรรมชาติ นำสู่การร่วมกันอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป

ในงานพบกับกิจกรรมปาฐกถาพิเศษ “24 ปีพิพิธภัณฑ์มดบนความท้าทาย covid-19, social media และ AI ครองโลก” โดย รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา (พ่อมดเมืองไทย) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางอาหารโปรตีนทางเลือกในประเทศไทย: กรณีมดกินได้” โดย นายศราวุธ ฉันทจิตปรีชา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การเสวนาภาคประชาชน : ศักยภาพและความท้าทายของ “มดไทย” บนเส้นทางธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออก รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยจากนักวิจัยไทยและต่างชาติ ฯลฯ

ชมนิทรรศการพิเศษ : “เปิดโลกมหัศจรรย์แมลงมัน” แมลงกินได้ที่แพงที่สุดในประเทศ​ไทย บรรยายโดย รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา พ่อมดเมืองไทย โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมรูปแบบการเลี้ยงแมลงมัน เพื่อเพิ่มรายได้และแหล่งโปรตีนชุมชน เปิดโลกมหัศจรรย์แมลงมันในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1. ชีวิตแมลงมัน 2. ถิ่นอาศัยแมลงมัน 3. วิธีการค้นหาแมลงมัน 4. การเตรียมแม่พันธุ์ 5. การอนุบาลแม่พันธุ์ 6. การเลี้ยงแมลงมันในสภาพธรรมชาติ  ชิมฟรี! แมลงมันคั่วเกลือ  และนิทรรศการสัตว์เล็กผู้ยิ่งใหญ่ : ชมมดและแมงมุมหายากจากฟาร์มเพาะเลี้ยง พร้อมแมงมุมชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบโดยนักวิจัยไทย!

รายละเอียดกิจกรรมการประชุมวิชาการเรื่องมดในประเทศไทย ครั้งที่ 6 ดังนี้

08.30 -09.00 น.             พิธีเปิดประชุมวิชาการ โดยรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

09.00 – 09.40 น.           ปาฐกถาพิเศษ “24 ปีพิพิธภัณฑ์มดบนความท้าทาย covid19, social media และ AI ครองโลก” โดย รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา (พ่อมดเมืองไทย) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

09.40 – 10.00 น.           บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางอาหารโปรตีนทางเลือกในประเทศไทย: กรณีมดกินได้” โดย นายศราวุธ ฉันทจิตปรีชา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10.00 – 10.45 น.           พิธีเปิดนิทรรศการ เรื่อง “มด…มด และเพื่อนของมด” โดยคณบดีคณะวนศาสตร์

10.45 – 11.00 น.           พักรับประทานอาหารว่าง

11.00 – 11.40 น.           การเสวนา เรื่อง “มองอนาคตการวิจัยมดไทย โดยนักมดอาวุโส” โดย รศ.ดร.ศุภฤกษ์ วัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ รศ.ดร.เสาวภา สนธิไชย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นาวี หนุนอนันต์ และ ผศ.ดร.ศศิธร หาสิน

11.40 – 12.10 น.           บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การควบคุมมดในธุรกิจกำจัดแมลง” โดย นายสุรัฐ เอิบธรรม กรรมการฝ่ายวิชาการ และประชาสัมพันธ์สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย PMAT

13.10 – 14.00 น.           งานเสวนาทางวิชาการ (ภาคประชาชน) เรื่อง “การใช้ประโยชน์จากมด” โดยกลุ่มเลี้ยงและขาย กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอุตสาหกรรมและผู้ส่งออก ดำเนินรายการโดย นายชวลิต ส่งแสงโชติ

14.00 – 14.10 น.           พักรับประทานอาหารว่าง

14.10 – 14.40 น.           บรรยายพิเศษ หัวข้อ Chemical control does not outperform weaver ant biocontrol in Thai mango โดย Dr.Joost Van Itterbeeck, Animal Physiology and Neurobiology, Department of Biology, KU Leuven, Naamsestraat, Belgium