
กรมวิชาการเกษตร ชู “จักรินทร์ โพธิ์พรม” เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองแห่งบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี เป็น เกษตรกร GAP ดีเด่นแห่งชาติ ที่เอาความรู้ ประสบการณ์จริงจากอิสราเอล ที่เน้นเทคโนโลยีมาปรับใช้ในบริหารจัดการในพื้นที่ปลูก 3 ไร่สร้างรายปีละเกือบ 3 แสนบาท
นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2568 กรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือกให้ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม เกษตรกรตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่ งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืช (GAP) โดยนายจักรินทร์เป็ นเกษตรกรรายแรกที่เริ่มต้นและจุ ดประกายการปลูกกล้วยหอมทองเพื่ อการค้าของจังหวัดอุดรธานี และมีผลงานเป็นแบบอย่างที่ดีทั้ งในด้านการผลิตกล้วยหอมทอง การพัฒนาเครือข่าย และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

โดยนำทุกส่วนของกล้ วยหอมทองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการลดปริมาณขยะในการผลิตพื ชภายในแปลง รวมทั้งยังเป็นเกษตรกรที่เรี ยนรู้จากประสบการณ์จริ งและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ จนทำให้ประสบความสำเร็จจากเดิ มที่เริ่มปลูกกล้วยหอมทองในพื้ นที่จำนวน 3 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกกล้ วยหอมทองรวมจำนวนทั้งสิ้น 600 ไร่ ทั้งในจังหวัดอุดรธานีและจังหวั ดใกล้เคียง
ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของการประกอบอาชี พเกษตรกรรมสู่การสร้างอาชีพอย่ างมั่นคงของ นายจักรินทร์ เกิดจากแรงบันดาลใจมาจา กคำแนะนำของบิดาให้ปลูกกล้ วยหอมทองซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ มีแนวโน้มตลาดดีในขณะนั้น ในช่วงปี 2544 จึงตัดสินใจเดิ นทางไปทำงานในสวนปลูกกล้ วยหอมและมีการใช้เทคโนโลยีที่ทั นสมัยที่ประเทศอิสราเอล พร้อมกับได้นำประสบการณ์ ความรู้ และทุนทรัพย์กลับมาพัฒนาสวนกล้ วยหอมทองของตนเอง

โดยเน้นการวางผังแปลงอย่างเป็ นระบบ ติดตั้งระบบน้ำหยด และใช้พลาสติกคลุมแปลง จากเดิมในพื้นที่มีการเตรี ยมแปลงปลูกแบบไม่คลุมพลาสติก ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการเจริญเติบโตของต้ นกล้วยหอมทอง น้ำไม่เพียงพอในการผลิตและวัชพื ช จึงนำเทคโนโลยีใช้พลาสติกป้องกั น UV (carbon 3-7 %) มาปรับใช้กับการปลูกกล้ วยหอมทองของตนเอง ทำให้สามารถป้องกันปั ญหาการขาดแคลนน้ำ และป้องกันวัชพืชไม่ให้ มารบกวนต้นกล้วย และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต่ อเนื่องจึงคุ้มค่ากับการลงทุน
นอกจากนี้ นายจักรินทร์ ยังได้นำสารชีวภั ณฑ์มาใช้ป้องกันและกำจั ดโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี ในแปลงปลูกกล้วยหอมทอง เช่น การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่ าในกล้วยหอมทอง โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ละลายน้ำกรองเอากากออกจากนั้ นปล่อยไปตามระบบน้ำหยด (เดือนละ 1 ครั้ง)

ส่วนในช่วงฤดูฝนจะมีการใช้เชื้ อราไตรโคเดอร์มาผสมน้ำ อัตรา 250 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณลำต้นและใบเพื่อป้ องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา พร้อมกับลดการเผา โดยนำเศษวัสดุธรรมชาติที่เหลื อในแปลง เช่น ต้นกล้วย ใบกล้วย มาทำเป็นปุ๋ยหมัก บางส่วน เช่น เครือกล้วย ต้นกล้วย นำไปผลิตเส้นใย สำหรับการผลิตเสื้อผ้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ได้ศึ กษางานวิจัยร่วมกับประเทศญี่ปุ่ น รวมทั้งยังผลิตภาชนะใส่อาหารเพื่ อลดขยะในแปลงตามแนวคิด zero waste ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่า และเพิ่มช่องทางการตลาดได้อีกด้ วย
นายภัสชญภณ กล่าวอีกว่า นายจักรินทร์ได้ทำโครงการผลิ ตกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีส่ งออกไปประเทศญี่ปุ่น โดยมีการวางแผนการผลิต และขยายเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลู กกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตอีกจำนวนหนึ่งจำหน่ ายภายในประเทศ โดยในปี 2566 นายจักรินทร์มีรายได้ จากการจำหน่ายผลผลิตรวมจำนวนทั้ งสิ้น 297,100 บาท และปี 2567 มีรายได้ 297,000 บาท

จากแนวคิดการทำงานที่ได้นำสิ่ งที่เรียนรู้ทั้งจากประสบการณ์ จริงและจากการศึกษาดูงานทั้ งในประเทศและต่างประเทศมาปรั บใช้ภายในสวนกล้ วยหอมทองของตนเอง ประกอบกับมีการบริหารจัดการที่ ดีจนทำให้ประสบความสำเร็จในอาชี พ นายจักรินทร์จึงถือเป็นแบบอย่ างเกษตรกรยุคใหม่ที่เหมาะสมกั บรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขา การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืช (GAP) ประจำปี 2568