คนเลี้ยงวัวนมสุดทนแล้ว!! นัดรวมพลนับพันคนเตรียมขนน้ำนมดิบไปเททิ้งหน้า อ.ส.ค.หมวกเหล็ก จันทร์ที่ 28 เม.ย.นี้

แฟ้มภาพการชุมนุนมครั้งแรก 25 ก.พ.68

เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสุดทนที่ต้องเทน้ำนมทิ้งทุกวัน ขณะที่ค่าน้ำนมดิบที่จำหน่ายให้กับ อ.ส.ค.ก็ไม่ได้รับอีกกว่า 300 ล้านบาท ในที่สุดต้องนัดรวมพลนับพันคนจากทั่วประเทศ เตรียมขนน้ำนมดิบไปเทหน้าสำนักงานองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย อำเภอหมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ในวันที่ 28 เมษายนนี้ ขู่หากไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจอาจปักหลักประท้วงยาวแน่นอน 

กลายเป็นปัญหายืดเยื้อที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค. รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เลื่อนชำระหนี้ค่าน้ำนมให้กับเกษตรกรมานานหลายครั้ง ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนต้องไปกู้หนี้ยืมสินเป็นภาระดอกเบี้ยจนบางฟาร์มต้องขายวัวออกไป ล่าสุดกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโดคนมทั่วประเทศได้นัดรวมตัวกัน เพื่อทวงถามค่าน้ำนมดิบจาก อ.ส.ค.ที่ค้างจ่ายกว่า 300 ล้านบาทในวันที่ 28 เมษายน 2568 ที่ อ.ส.ค. อำเภอหมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

การนัดหมายเพื่อชุมนุมครั้งนี้คาดว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 1,000 คน ที่ตกลงกันว่า จะนำน้ำนมดิบไปเททิ้งที่หน้า อ.ส.ค.หมวกเหล็กด้วย โดยกลุ่มแกนนำเกษตรกรซึ่งเป็นตัวแทนจากสหกรณ์โคนมเครือข่ายชุมนุมสหกรณ์โคนมไทย- เดนมาร์ค กว่า 18 แห่งทั่วประเทศได้พร้อมใจกันนัดเคลื่อนพลเดินทางไปที่อ.ส.ค.มวกเหล็ก ทั้งนี้หากไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจการชุมนุมเรียกร้องครั้งนี้อาจยืดเยื้อ และนับเป็นการชุมนุมเรียกร้องค่าน้ำนมดิบจาก อ.ส.ค.เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน

จากซ้าย : ประพล จอมสง่า-พรชัย บุษบง 

ครั้งแรกได้มีการรวมตัวไปทวงถามค่าน้ำนมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นำโดยนายประพล จอมสง่า ประธานสหกรณ์โคนมไทยเดนหมาร์คขามทะเลสอ จำกัด อ.ขามทะเลศอ จ.นครราชสีมา และนายพรชัย บุษบง  ประธานสหกรณ์โคนมไทยเดนหมาร์คซับกระดาน จำกัด อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี :7j’ในครั้งนั้น อ.ส.ค.อ้างว่ากำลังของบประมาณจากรัฐบาลมาช่วยเหลือ ทำให้เกษตรกรหลงดีใจจึงพากันเดินทางกลับ แต่เรื่องกลับเงียบหาย เมื่อทวงถามก็อ้างว่าอยู่ระหว่างดำเนินการขอกู้เงิน ซึ่งล้วนแต่เป็นการผลัดผ่อนที่เลื่อนลอย ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้

ดังนั้นในครั้งนี้จึงเป็นการยกระดับการชุมนุมเรียกร้องที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรวมตัวกันมากที่สุด เพราะปัญหาการติดค้างค่าน้ำนมดิบที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่ยากลำบากมากขึ้น