รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร “ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง” นำทีมลุยแดนมังกรติดตามสถานการณ์ การค้าผลไม้ไทย ปลื้ม! ผลไม้ไทยครองแชมป์ผลไม้ยอดนิ ยมในจีน โดยเฉพาะทุเรียนทั้งหมองทอง พวงมณี ก้านยาว ชะนี มูซานคิง ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนาม และ ฟิลิปปินส์
นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิ
ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารื อสถานการณ์การค้าผลไม้ ของไทยและแนวทางในการขยายผลไม้ ไทยในของตลาดซินฟ้าตี้ โดย นายจาง เยว่ หลิน (Zhang Yuelin) ผู้จัดการทั่วไปของตลาดซินฟาตี้ กล่าวว่า ผลไม้ไทยครองตำแหน่งผลไม้ยอดนิ ยมในจีน และผู้บริโภคจีนให้ ความสนใจมากที่สุดโดยเฉพาะทุเรี ยนไทย และทางตลาดซินฟาตี้ได้วางแผนที่ จะจัดตั้งศูนย์ผลไม้นานาชาติ และ ศูนย์ทุเรียนไทย เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคชาวจี นได้เข้าถึงตลาดได้มากยิ่งขึ้น โดยศูนย์ผลไม้นานาชาตินี้อยู่ ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่ าจะเสร็จสิ้นในเร็วๆ นี้ รวมทั้งยังมีแผนจัดเทศกาลผลไม้ ในช่วงเดือนสิงหาคมเพื่อประชาสั มพันธ์ผลไม้ให้เป็นที่รู้จั กมากขึ้น
นายภัสชญภณ กล่าวว่า ขอขอบคุณตลาดซินฟาตี้ที่มีส่ วนทำให้ผลไม้ไทยขยายช่ องทางตลาดผู้บริโภคในหลายๆพื้ นที่ในจีนโดยเฉพาะภาคเหนือ อีกทั้งให้การรับรองด้ านการควบคุมคุณภาพของผลไม้ ไทยเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคั บของการนำเข้าผลไม้ของจีนและให้ ได้ผลไม้ที่มีคุณภาพดีส่งถึงมื อผู้บริโภคจีน รวมถึงด้านปริมาณที่เพิ่มขึ้ นพร้อมกับคุณภาพให้เพียงพอต่ อความต้องการของผู้บริโภคจีน
โดยผู้จัดการด้านผลไม้นำเข้ าตลาดซินฟาตี้ ได้รายงานให้ทราบถึงสถานการณ์ การค้าของทุเรียนในจีนที่ขณะนี้ มีการแข่งขันกันสูงขึ้นเนื่ องจากมีทุเรียนผลสดทั้งจากไทย เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ รวมถึงทุเรียนแช่แข็งมาเลเซีย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ส่งผลให้ราคาทุเรียนลดลง โดยขณะนี้ทุเรียนไทยยังได้รั บความนิยมที่สุด เนื่องจากมีรสชาติและคุณภาพดี และในช่วงที่ผ่านมามีการควบคุ มคุณภาพได้ดี ดังนั้นประเด็นสำคัญคือต้ องควบคุมคุณภาพของทุเรียนให้ คงที่เพื่อครองใจผู้บริโภคชาวจี นให้เป็นที่นิยมตลอดไป
ปัจจุบันทุเรียนของไทยที่เป็ นที่รู้จักในตลาดจีน ได้แก่ หมองทอง พวงมณี ก้านยาว ชะนี มูซานคิง โดยหมอนทองเป็นพันธุ์ที่รู้จั กและได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากทุเรียนหมอนทองมีปริ มาณมาก อีกทั้งเนื้อนุ่ม หอม และอร่อย ในอนาคตทางผู้ประกอบการหวังว่ าจะได้นำเข้าทุเรียนพันธุ์อื่นๆ มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้ องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์มูซังคิ งส์สด ที่มีผู้สั่งจองมากมาย ทุกตู้ที่เข้าถึงตลาดเพียงไม่ นานก็มีการจำหน่ายออกไปอย่ างรวดเร็ว บางตู้มีการเซ็นสัญญารอรับของอี กด้วย ซึ่งในปี 2566 นี้กระแสทุเรียนได้รับความนิ ยมเพิ่มมากขึ้นอีกและในขณะนี้ทุ เรียนของไทยมีปริมาณไม่เพียงต่ อความต้องการในตลาด
สำหรับสถานการณ์การค้าผลไม้ ในตลาดผลไม้นำเข้า ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลไม้ ของไทยเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก หลักๆ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว โดยสินค้าที่ขายดีได้แก่ ทุเรียนผลสดไทย ทุเรียนแช่แข็งมาเลเซีย และมังคุด โดยในช่วงนี้ทุเรียนของไทยเข้ าสู่ตลาดประมาณวันละ 10-15 ตู้ ราคา 750-850 หยวนต่อลัง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังกล่าวอีกว่าลู กค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับส้ มโอไทยไม่แพ้กันโดยเฉพาะพันธุ์ ทับทิมสยาม อย่างไรก็ตาม ปริมาณของสินค้าไม่พอต่อความต้ องการของผู้บริโภคจึงหวังว่าปริ มาณส้มโอในปีนี้จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 22 มิถุนายน 2566 ไทยได้ส่งออกทุเรียนไปจีนแล้ วปริมาณ 611,545 ตัน รวมมูลค่ากว่า 79,540 ล้านบาท ส่วนภาพรวมการส่งออกผลไม้ สดจากไทยไปจีนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 22 มิถุนายน 2566 ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,164,978 ตัน รวมมูลค่ากว่า 104,770 ล้านบาท
ด้านนางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันผลไม้ของไทยได้รับอนุ ญาตให้ส่งออกมายังจีนมากถึง 22 ชนิด โดยผลไม้ไทยที่ได้รับความนิ ยมจากผู้บริโภคชาวจีน ได้แก่ ทุเรียน มังคุด มะพร้าว ส้มโอ ลำไย มะม่วง ดังนั้นจึงยินดีที่จะร่วมมือกั บตลาดซินฟาตี้ในการผลักดันผลไม้ ชนิดใหม่ให้เป็นที่รู้จักเพิ่ มมากขึ้น ซึ่งสำนักงานที่ปรึ กษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง (สปษ. ปักกิ่ง) และผู้แทนซินฟาตี้ (Xinfadi) ได้หารือแนวทางในการสร้างความร่ วมมือในการประชาสัมพันธ์ผลไม้ ของไทยให้เป็นที่รู้จั กของประชาชนจีนผ่านช่ องทางออนไลน์ให้มากขึ้ นโดยการไลฟ์สดแนะนำผลไม้ไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่ างๆของจีนสามารถสร้ างผลกระทบในวงกว้างต่อผู้บริ โภคชาวจีนเป็นอย่างมาก โดยทั้งสองฝ่ายจะหารื อในรายละเอียดร่วมกันต่อไป