ซีพีเอฟ เดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนิ นงานด้านสิทธิมนุษยชนระดับสากล สานต่อความร่วมมือกับองค์กรพั นธมิตร “มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุ ณภาพชีวิตแรงงาน” (Labour Protection Network Foundation: LPN) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ดำเนินการศูนย์รับฟังเสียงพนั กงาน และจัดอบรมพนักงาน ย้ำความมุ่งมั่นในการปฏิบัติต่ อพนักงานอย่างเท่าเทียม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิ ตสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้ วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สร้างความเชื่อมั่นในองค์กร ต่อต้านการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุ กรูปแบบ แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับตลอดทั้งห่วงโซ่ อุปทาน
นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ความร่วมมือกับมูลนิธิ LPN ตั้งแต่ปี 2560 จากการพัฒนากลไกการรับเรื่องร้ องเรียนผ่านการจัดตั้งศูนย์รั บฟังเสียงสะท้อนของพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” และการอบรมพนักงานสร้ างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุ ษยชน เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็ จในการดูแลและปฏิบัติต่อพนั กงานของซีพีเอฟที่มี ความหลากหลายและแตกต่างในประเด็ นสัญชาติ ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ เพศสภาพ อายุ สรีระทางกายภาพ เป็นต้น ช่วยสนับสนุนให้บริษั ทสามารถบรรลุเป้าหมายในการปกป้ องคุ้มครองพนักงานในทุกระดับ เคารพในความหลากหลาย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ยอมรับความแตกต่าง ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรการมีส่ วนร่วม ช่วยลดความเสี่ยงการล่วงละเมิ ดหรือการคุกคามในทุกรูปแบบ ตลอดจนป้องกันการใช้แรงงานบังคั บ แรงงานผิดกฎหมาย และแรงงานเด็กไม่ให้เกิดขึ้ นภายในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน
“มูลนิธิ LPN เป็นพันธมิตรที่มีส่วนสนับสนุ นให้ซีพีเอฟเป็นองค์กรที่มี ความโดดเด่นในเรื่องการปฏิบัติ ต่อพนักงานที่มีความหลากหลายอย่ างเท่าเทียม สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มี ความเคารพซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับนโยบายการบริ หารความหลากหลายและยอมรั บความแตกต่าง (Diversity and Inclusion Policy) ช่วยให้พนักงานทุกคนของบริษัท โดยเฉพาะพนักงานต่างชาติ สามารถทำงานและดำรงชีวิ ตในประเทศไทยได้อย่างมีความสุข” นางสาวพิมลรัตน์กล่าว
นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ซีพีเอฟและมูลนิธิ LPN ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงทำงานร่ วมกันจัดตั้งศูนย์รับฟังเสี ยงพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” เป็นช่องทางรับฟังเสียงสะท้ อนและความคิดเห็นของพนักงานซึ่ งดำเนินงานโดยองค์กรกลางภายนอก (Neutral organization) ในทุกภาษาที่พนักงานเข้าใจ ทั้งภาษาไทย กัมพูชา และเมียนมา ซึ่งช่วยให้บริษัทได้รับทราบถึ งปัญหาหรือข้อเสนอแนะของพนั กงานและนำไปปรับปรุงและจั ดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว เป็นการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติ ด้านแรงงานบนพื้นฐานความเท่าเที ยม และป้องกันปัญหาการจ้างแรงงานผิ ดกฎหมาย แรงงานขัดหนี้ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ ที่อาจเกิดขึ้ นในกระบวนการสรรหาและจ้ างแรงงานต่างชาติ ตลอดจนป้องกันปัญหาเกี่ยวกั บการล่วงละเมิดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน มูลนิธิ LPN ยังจัดการอบรมพนั กงานในสถานประกอบการของซีพี เอฟทั่วประเทศให้มีความเข้ าใจและตระหนักถึงสิทธิ ของตนเองตามกฎหมายคุ้ มครองแรงงานและมาตรฐานแรงงานสาก ล ความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงวัฒนธรรมไทยเพื่อช่วยให้ พนักงานต่างชาติสามารถปรับตัวกั บชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยได้ดี ช่วยให้การทำงานร่วมกันมี ความราบรื่น ซึ่งซีพีเอฟยังได้แบ่งปันและถ่ ายทอดแนวปฏิบัติที่ดีต่ อแรงงานให้แก่คู่ค้ าและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานอี กด้วย ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมามูลนิธิ LPN ได้จัดอบรมพนั กงานในสถานประกอบการทั่ วประเทศแล้ว 91 รุ่น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ LPN ยังจัดกิจกรรมเข้าเยี่ยมและพู ดคุยอย่างเป็นกันเองถึงหอพั กของพนักงานต่างชาติ (Focus Group) เพื่อรับฟังเรื่องราวชีวิ ตความเป็นอยู่ ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ของพนักงาน และเพื่อให้มั่นใจว่ ากระบวนการจัดจ้างแรงงานต่ างชาติตั้งแต่ประเทศต้นทางมี ความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักการจ้างงานอย่ างมีจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่ อนการดำเนินงานขององค์กรบนพื้ นฐานบรรษัทภิบาลที่ดี สร้างมาตรฐานองค์กรที่สนับสนุ นการปฏิบัติอย่างเท่าเที ยมและเคารพซึ่งกันและกัน