ซีพีเอฟ ประกาศขับเคลื่อนภารกิจมุ่งสู่ เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2050 ชูโรดแม็ป Smart Sourcing Smart Production และ Smart Consumption เดินหน้านโยบายจัดหาวัตถุดิบอย่ างรับผิดชอบจากแหล่งไม่ตัดไม้ ทำลายป่า นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่ มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่ งยืน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเป็นบริษัทแรกที่ประกาศยกเลิ กใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในประเทศไทย
นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผูู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางกลยุุทธ์เชิงรุ กในการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิ บทางการเกษตรด้วยความรับผิดชอบ จากแหล่งที่ไม่บุกรุกป่าและไม่ ตัดไม้ทำลายป่า (Smart Sourcing) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ประกาศนโยบายต่อต้านการตั ดไม้ทำลายป่า (Deforestation) ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชี วภาพ (Biodiversity) การพัฒนาการผลิตให้เป็นระบบอั ตโนมัติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัล (Smart Production) เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดค่าใช้จ่ายการผลิต และในด้านการบริโภคอย่างยั่งยืน (Smart Consumption) บริษัทฯ มุ่งมั่นผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ คาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายในปี 2030 มีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สี เขียวมากกว่า 40 % ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งผลการดำเนินงานในปี 2022 มีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สี เขียวอยู่ที่ประมาณ 34 % ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกได้ 1.483 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เที ยบเท่าต่อปี ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ซีพีเอฟมีเป้าหมายการใช้บรรจุภั ณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารที่ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ หรือสามารถย่อยสลายได้ 100%
พีรพงศ์ กรินชัย
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริ มการใช้พลังงานหมุนเวียน ทำให้ในปัจจุบันเมื่อเทียบกั บในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซีพีเอฟ อยู่ในกลุ่มผู้นำ 5 บริษัทที่มีสัดส่วนการใช้พลั งงานหมุนเวียนมากที่สุดที่ 27 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด แบ่งเป็น พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) พลังงานชีวมวล (Biomass) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 680,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 73 ล้านต้น หรือ 360,000 ไร่ บริษัทฯ มีการใช้พลังงานชีวมวลจากไม้สั บที่ผลิตจากไม้โตเร็ว ทดแทนการใช้ถ่านหินโดยตั้งเป้ าหมายในปี 2022 จะยกเลิกการใช้ถ่านหินทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ได้ 190,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่ อปี
อีกส่วนสำคัญที่มีผลต่อการมุ่ งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซีพีเอฟเน้นนำนวั ตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ ในกระบวนการผลิต อาทิ การใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 70 % และในฟาร์มสุกรของซีพีเอฟ 50-60 % การเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงทั้ งหมดจากการใช้ถ่านหินมาเป็ นการใช้พลังงานชีวมวล และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบัน ได้ดำเนินการทำสัญญาติดตั้ งโซลาร์เซลล์ไปแล้วรวม 65 เมกะวัตต์ มีแผนจะติดตั้งให้แล้วเสร็ จภายในปี 2023 (พ.ศ.2566) รวมทั้งวางเป้าหมายติดตั้งให้ ได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2025 (พ.ศ. 2568) นอกจากการส่งเสริมการใช้พลั งงานหมุนเวียนแล้ว บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาวิธีการผลิ ตและวิธีสำรวจการนำ “Green Hydrogen” มาใช้ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลื อกในอนาคตที่เป็นพลังงานสะอาด 100% มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิ ตกระแสไฟฟ้า และพลังงานในกระบวนผลิ ตของโรงงาน ซึ่งไฮโดรเจนสีเขียวกรี นไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงในอนาคตที่สำคั ญในการช่วยให้ CPF บรรลุเป้าหมาย Net – Zero ได้
นายพีรพงศ์ กล่าวีกว่า ซีพีเอฟ มีความมุ่งมั่นชัดเจนในการขั บเคลื่อนองค์กรสู่เป้ าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) โดยได้ตั้งคณะทำงานบริหารจั ดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ โดยขณะนี้บริษัทฯได้รวบรวมข้อมู ลปี 2020 (พ.ศ 2563) สำหรับใช้เป็นปีฐาน และทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึ กษาในการวางแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุ รกิจซีพีเอฟทั่วโลก หลังจากที่ทำแผนแล้วเสร็จ จะนำข้อมูลทั้งหมดยื่นส่งองค์กร Science Based Target Initiatives ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมื อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประกาศเป็นเป้ าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกของซีพีเอฟต่อไป
“การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่เชื่อว่าในปัจจุบันนวั ตกรรมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งซีพีเอฟได้นำนวั ตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้เข้ามาใช้ ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจก โดยที่เรายังมีความมุ่งมั่ นและเชื่อมั่นว่าจะมุ่งสู่เป้ าหมาย Net-Zero ในปี 2050 ได้” นายพีรพงศ์ กล่าว