ฉันทานนท์ วรรณเขจร
สศก. โชว์ตัวเลขชัดๆส่งออกสินค้าเกษตร ไทย กับประเทศที่ลงนาม FTA และ อาเซียน ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 มูลค่า 490,726 ล้านบาท เป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 แม้เผชิญโควิด แต่ยังเดินหน้ามาตรฐานสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ปราศจากการปนเปื้อนตลอดห่วงโซ่การผลิตต่อไป
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงผลกระทบด้านการค้าระหว่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ในปี 2563 ที่ผ่านมาว่า วิกฤตการแพร่ระบาดดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งหากพิจารณาภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พบว่า ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปี 2562
ถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตรไทยกับประเทศ FTA ปี 2563 (ม.ค. – ธ.ค. 63)
การส่งออกสินค้าเกษตรไทย | มูลค่า (ล้านบาท) | อัตราร้อยละ |
ภาพรวมการส่งออกไปโลก | 1,192,004 | -3.2% |
การส่งออก(FTA 9 ประเทศ) | 490,726 | +2.2% |
ตลาดส่งออก
– จีน – ฮ่องกง – เปรู – ชิลี – นิวซีแลนด์ – ออสเตรเลีย |
241,805 34,317 2,526 2,254 4,883 28,351 |
+10% +17% +14% +9% +8% +4% |
กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออก
– ผลไม้สด – เนื้อไก่สด/แช่เย็น/แช่แข็ง – มันสำปะหลัง – ผลไม้แช่แข็ง – ปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง – สุกรสด/แช่เย็น/แช่แข็ง |
83,576 27,789 21,626 6,993 4,358 3,273 |
+24% +17% +31% +20% +20% +321% |
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะการค้าระหว่างไทยกับประเทศที่ไทยทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area:FTA)ไม่รวมอาเซียนพบว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยกลับมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 คิดเป็นมูลค่า490,726 ล้านบาทโดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7ตลาดส่งออกที่ขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ จีน ฮ่องกงเปรู ชิลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ตามลำดับ สำหรับสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้สด มูลค่า 83,576 ล้านบาท เนื้อไก่สด/แช่เย็น/แช่แข็ง มูลค่า 27,789 ล้านบาทมันสำปะหลัง มูลค่า 21,626 ล้านบาท ผลไม้แช่แข็ง มูลค่า6,993 ล้านบาทปลาสด/แช่เย็น/แช่แข็ง มูลค่า 4,358 ล้านบาท และ สุกรสด/แช่เย็น/แช่แข็ง มูลค่า 3,273 ล้านบาท เป็นต้น
เบญจวรรณ ศิริโพธิ์
ด้านนางเบญจวรรณ ศิริโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเสริมว่า สำหรับการค้าสินค้าเกษตรกับอาเซียน 9 ประเทศ ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562พบว่า การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.80โดยมีมูลค่าการค้ารวม 421,977 ล้านบาทแต่การส่งออกลดลงร้อยละ 5.75อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 171,334 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปเวียดนามอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ มาเลเซีย และ กัมพูชา ตามลำดับ สินค้าเกษตรส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่กักเก็บได้และไม่เน่าเสียง่าย ได้แก่ น้ำตาล มูลค่า 47,493 ล้านบาท เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาทิ นมยูเอชที นมถั่วเหลืองมูลค่า 47,103 ล้านบาท ของปรุงแต่ง อาทิ ครีมเทียม ซอสปรุงรส น้ำปลา น้ำมันหอย มูลค่า 25,214 ล้านบาท ยางพาราธรรมชาติ มูลค่า 23,271 ล้านบาท และ สัตว์มีชีวิต อาทิ สุกร มูลค่า 23,102 ล้านบาท
สถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตรไทยกับอาเซียน 9 ประเทศ
ปี 2563 (ม.ค. – ธ.ค. 63)
การส่งออกสินค้าเกษตรไทย | มูลค่า (ล้านบาท) | อัตราร้อยละ |
ภาพรวมการค้า | 421,977 | +0.80% |
การส่งออก | 296,655 | -5.75% |
ตลาดส่งออก
– เวียดนาม – มาเลเซีย – กัมพูชา |
84,209 68,865 59,184 |
-0.4% -3% +13% |
กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออก
– น้ำตาล – เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาทิ นมยูเอชที นมถั่วเหลือง – ของปรุงแต่ง อาทิ ครีมเทียม ซอสปรุงรส น้ำปลา น้ำมันหอย – ยางพาราธรรมชาติ – สัตว์มีชีวิต อาทิ สุกร |
47,493 47,103 25,214 23,271 23,102 |
-25% -8% +8% +13% +99% |
ที่มา : นักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ทั้งนี้ แม้ว่าช่วงครึ่งปีแรกของ ปี 2563 ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด – 19 แต่จะเห็นได้ว่า การค้าสินค้าเกษตรไทยในปี 2563 ยังถือว่ามีทิศทางที่ดี และแม้จะมีการระบาดระลอกใหม่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัว และหลายประเทศได้ผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการนำเข้าสินค้ามากขึ้น ตลอดจนความพร้อมของไทยในการควบคุมการแพร่ระบาดจึงทำให้ไทยมีโอกาสและแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้นไปด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การค้าสินค้าเกษตรไทยเกิดความยืดหยุ่น อาจพิจารณาหาตลาดทดแทนและส่งเสริมการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้เน้นปรับการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เก็บรักษาได้นาน และได้กำชับทุกหน่วยงาน หารือร่วมกับภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ ในการควบคุมสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยไร้การปนเปื้อนของเชื้อโรคสอดรับแนวทางการปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของFAOเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประเทศคู่ค้าต่าง ๆ