เกษตรกรสุดปลื้ม ร่วมโครงการ “ AgTech4OTOP”มั่นใจพลิมการตลาดสินค้าเกษตรได้

  •  
  •  
  •  
  •  

 

     “การเข้าร่วมโครง  AgTech4OTOP เกษตรกรได้มองช่องทางการตลาดใหม่ๆได้มากขึ้น เนื่องจากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเข้าร่วมโครงการนี้นี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่จะช่วยเกษตรกรพัฒนาสินค้าเกษตรได้ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การบรรจุภัณฑ์ หรือแพ็คกิ้ง รวมถึงการขนส่งที่รวดเร็วถึงมือลูกค้าได้เร็วขึ้น”

     ผ่านไปด้วยดีสำหรับโครงการ “AgTech4OTOP” ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องบการพลิกโฉมใหม่เศรษฐกิจชุมชน ด้วยการคัด 50 กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่น พบกับสตาร์ทอัพสายเกษตรที่มีความพร้อมที่จะเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนาสินค้าเกษตรขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เชื่อมโยงผู้ผลิตสินค้าเกษตรไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้างเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในรูปแบบของสร้างช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ (NIA ) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)  ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ ซอยรางน้ำ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 2563 ที่ผ่าน

                                                            มณฑา ไก่หิรัญ

      มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการสำนักนวัตกรรม NIA บอกว่า โครงการ AgTech4OTOP จัดเป็นครั้งแรก ที่ต้องการพัฒนาตลาดสินค้าค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่ตลาดในรูปแบบใหม่ให้ถึงผู้บริโภคมากขึ้น  โดยเริ่มจากการเปิดรับสมัครและคัดเลือก OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ โดยมีกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จากนั้นคัดเลือกจำนวน 50 ราย อาทิทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์  ส้มโอนครชัยศรี จ.นครปฐม ย สับปะรดนางแล ภูแล จ. เชียงราย มะปี๊ด จ.จันทบุรีเป็นต้นมาพบกับ และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรจำนวน 10 ราย เช่น ฟาร์มโต๊ะ มีแซ่ด ครอปเปอร์แซด อารีฟาร์ม มีการพูดคุยและเปลี่ยนหาแนวทางในการพัฒนาสินค้าในรูปแบบใหม่ครบวงจรทั้งด้านคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การขนส่ง และการทำความเข้าใจระบบตลาดใหม่ๆเป็นต้น (รายละเอียดในคลิป)

     ด้าน สมชาย หอมดี ตัวแทนจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู เจ้าของสวนทุเรียนป่าละอู ที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บอกว่า ต้องขอบคุณสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เปิดโอกาสให้กับเกษตรกรได้เรียนรู้อะไรแบบใหม่ๆมากขึ้น โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับสินค้าเกษตร ซึ่งที่ผ่านมายอมรับเกษตรกรมีความเก่งในด้านการผลิตแต่ไม่มีความรู้ด้านการตลาดมากนัก

        ดังนั้นการเข้าร่วมโครง  AgTech4OTOP เกษตรกรได้มองช่องทางการตลาดใหม่ๆได้มากขึ้น เนื่องจากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเข้าร่วมโครงการนี้นี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่จะช่วยเกษตรกรพัฒนาสินค้าเกษตรได้ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การบรรจุภัณฑ์ หรือแพ็คกิ้ง รวมถึงการขนส่งที่รวดเร็วถึงมือลูกค้าได้เร็วขึ้นเป็นต้น (รายละเอียดในคลิป)