พลังงานทดแทนสำคัญไฉน  มีอะไรบ้าง ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน?

  •  
  •  
  •  
  •  

ดลมนัส กาเจ

         หากเราย้อนไปในอดีต ราวๆ 40 ปี ทั่วโลกต่างหวาดวิตกว่า น้ำมันเชื้อเพลิงจะหมดไปจากใต้เปลือกโลก เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นถือเป็นพลังงานที่สำคัญในการที่จะพัฒนาประเทศ จึงทำให้หลายประเทศทั่วโลกพยายามศึกษา วิจัย และค้นหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ รวมถึงประเทศไทยเราด้วย โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประกาศเป็นนโยบาลที่ชัดเจน ที่จัดทัพขับเคลื่อน  Energy For All เพื่อเศรษฐกิจฐานราก ใน ปี 2563 เน้นให้ไฟฟ้าเข้าถึงทุกพื้นที่ ต้องมีโรงไฟฟ้าชุมชน 1,000 เมกะวัตต์ โดยทำให้เกิดโมเดลสถานีพลังงานชุมชน นอกจากนี้แล้ว ยังมีนโยบายให้เกิดการใช้ B10 ทั่วประเทศเป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐาน และมี B20 ที่ใช้สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ให้มีการผล

พลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง

            ความหมายตรงๆ  คือนิยามคำว่าพลังงานนั้น คือพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ฉะนั้นพลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง จะหามาได้ 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไปเลย ที่เรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง อาทิ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน รวมถึงนิวเคลียร์กับประเภทหนึ่งของพลังงานทดแทน คือพลังงานที่ใช้แล้ว สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน อาทิ ที่กำลังนิยมในขณะนี้คือ แสงอาทิตย์  พลังงานจากลม น้ำ ชีวมวล ชีวภาพ  พลังงานความร้อนจากใด้ดิน และไฮโดรเจน ถือเป็นพลังงานที่สะอาด และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่หลายประเทศเน้นที่พลังงานหมุนเวียน เป็นหลัก

พลังแสงอาทิตย์มีมหาศาล

            พลังแสงอาทิตย์ ถือเป็นพลังงาน ที่มีจำนวนมหาศาล ที่ทั่วโลกสามารถใช้กันได้ เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ อันจะทำให้เกิดมลภาวะและทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง  โดยเฉพาะประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง ได้ทั่วประเทศประมาณ 4 – 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน mujประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 %  ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย ฉะนั้นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

 พลังงานลมสะอาด-บริสุทธิ์และไม่มีวันหมดจากโดลกนี้

      พลังงานลม ถือเป็นพลังงานธรรมชาติที่สะอาดและบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก เพราะมีลมทุกวัน ทุกเวลา จึงทำให้ได้รับความสนใจที่จะนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ด้วยการผลิตและติดตั้ง กังหันลม ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ ที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้  เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้มานานแล้ว ซึ่งในประเทศไทย มีความเร็วของลมเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3 – 5 เมตรต่อวินาที ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 – 50 วัตต์ต่อตารางเมตร

พลังงานน้ำมีมหาศาล

            มีการวิจัยพบว่าพื้นผิวโลกของเรากว่า  70 %  ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช และน้ำเหล่าสามารถเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ที่เรียกว่า วัฏจักรของน้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานมหาศาลเช่นกัน มนุษย์นำพลังงานน้ำมาใช้นับยร้อยๆปีแล้ว ที่เห็นกันอยู่กังหันน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อาทิ น้ำในเขื่อน ที่มนุษย์มาผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน

พลังงานชีวภาพเริ่มใช้อย่างแพร่หลาย

            ปัจจุบันในประเทศไทยมีเกษตรกรไทย เริ่มนำได้ใช้เทคโนโลยีที่ทำขึ้นเอง ผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ในครัวเรือนจากมูลสัตว์มาผลิตเชือเพลิงชีวภาพกันแพร่หลายมากขึ้นแล้วอาทิ รนำของเสียจากสิ่งมีชีวิต เช่นมูลสัตว์จากฟาร์ม  โดยเฉพาะฟาร์มสุกร ฟาร์มสัตว์ปีก รวมถึงโค กระบือด้วย ที่เห็นมากที่สุด ขยะที่เป็นสารอินทรีย์ นำไปหมัก ให้ย่อยสลายโดยปราศจากอ๊อกซิเจน จะได้ก๊าซ มีเทน ที่เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ลดการใช้พลังงานฟอสซิลได้เป็นจำนวนมาก ถึงขนาดมีเกษตรกรบางส่วนยังขายมูลสัตว์ให้กับโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพด้วย และพลังงานชีวภาพที่ว่า ส่วนหนึ่งก็ได้จากของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพด้วย

พลังงานชีวมวลมีวัตถุดิบทุกพื้นที่

         พลังงานชีวมวล มีวัตถุดิบทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่จะได้ ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า ชานอัอย กาบมะพร้าว หญ้า ขี้เลื่อย เศษของเหลือทิ้งจากการเกษตร นำมาเผาให้ความร้อนและเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพแบบของแข็ง ปัจจุบันถึงขนาดมีการปลูกหย้าเนเปีย  ปลูกไม้โตเร็ว เพื่อขายให้กับผู้ประกอบการผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวลกันแล้ว มีการเทียบได้เท่ากับการใช้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร จึงทำให้มีการใช้เป็นเชื้อเพลิงจากชีวมวลมาผลิตไฟฟ้าในเชิงการค้ากันแล้ว รวมถึงพลังงานจากขยะซึ่งทุกวันนี้ขยะนับวันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน  จึงทำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อผลิตพลังงานทดแทน จากขยะชุมชน ทั้งที่เป็นบ้านเรือนและกิจการต่างๆ นับเป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

พลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อผลิตไฟฟ้า

            ที่จริงในประเทศไทยยังค่อยเห็นการพลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือใต้ดิน ซึ่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ เกิดจากการใช้งานอย่างหนักจากความร้อนของโลก แกนของโลกนั้นร้อนถึง 5,500 องศาเซลเซียส แม้แต่พื้นผิว 3 เมตรด้านบนสุดของโลกก็มีอุณหภูมิใกล้เคียง 10-26 องศาเซลเซียส แต่การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพใช้บ่อน้ำความลึกสูงสุด 1.5 กิโลเมตร หรือลึกกว่านั้น โรงไฟฟ้าบางแห่งใช้ไอน้ำจากแหล่งสำรองเหล่านี้โดยตรงเพื่อทำให้ใบพัดหมุน ส่วนโรงไฟฟ้าอื่นๆ ปั๊มน้ำร้อนแรงดันสูงเข้าไปในแท็งก์น้ำความดันต่ำ เพื่อให้หมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น

ไทยชูพลังงานทดแทนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

      สำหรับประเทศไทยเรานั้นเริ่มเอาจริงเอาจังกับการผลิตพลังงานทดแทน จะเห็นได้ว่า นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบนโยบายให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ในงานสัมมนา “การสื่อสารนโยบายพลังงานสู่การปฏิบัติ ปี 2563” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้มีการซักซ้อมความเข้าใจทิศทางการใช้ภาคพลังงานทดแทน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Energy For All) เป้าหมายระยะสั้น เร่งทำก่อนด้านไฟฟ้า เน้นให้ทุกพื้นที่ทั่วไทยมีไฟฟ้าใช้ ด้วยการผลิตไฟจากโรงไฟฟ้าชุมชนกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปี และแจ้งเกิดสถานีพลังงานชุมชนทั่วประเทศ ส่วนด้านก๊าซ และน้ำมัน เตรียมผลักดันมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน เร่งการใช้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานทั่วประเทศ พร้อมหนุนให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรูปธรรม

       นายสนธิรัตน์ ระบุว่า นโยบาย “Energy For All พลังงานเพื่อทุกคน” ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2562 และยังคงเป็นนโยบายหลักที่จะผลักดันต่อไปในปี 2563 ที่จะมาถึง

         “ในช่วงไม่กี่เดือนที่ได้เข้ามาบริหารที่กระทรวงพลังงาน ผมพบว่าเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากร มีทีมงานที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ รวมถึงมีรัฐวิสาหกิจที่มีความเข้มแข็ง แต่ภาพลักษณ์เดิมของกระทรวงฯ ถูกมองว่าให้ความสำคัญกับการลงทุนขนาดใหญ่ ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงพลังงาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระทรวงฯ ก็มีการทำงานที่ลงไปในระดับประชาชน ในระดับชุมชนอยู่ด้วยแล้ว เพียงแต่ขาดพลังที่จะบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายไปสู่เศรษฐกิจระดับฐานราก วันนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะได้มาทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อทำให้นโยบายถูกแปรไปสู่ทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว

        สำหรับการดำเนินการให้สำเร็จเป็นรูปธรรมภายใต้นโยบาย Energy For All เน้นที่จะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม,ให้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องจะต้องมีไฟฟ้าใช้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งพื้นที่บริเวณชายขอบ ชายแดน ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายสายส่งที่เกิดไฟตกไฟดับ จำเป็นต้องแก้ปัญหาอีกจำนวนมาก

        นอกจากนี้ให้ เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนกว่า 1,000 เมกะวัตต์(MW) ในช่วง 3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีเงินลงทุน 7-8 หมื่นล้านบาท ,ต้องมีสถานีพลังงานชุมชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ โดยใช้โมเดลการพัฒนาชุมชนของ จ.กาญจนบุรี เป็นแนวทางในการทำสถานีพลังงานชุมชนแบบครบวงจรที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ ชีวมวล ขยะ และเชื้อเพลิงฟอสซิลมาบริหารจัดการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดรายจ่ายด้านพลังงานและสร้างรายได้ต่อยอดอาชีพของชุมชน, พร้อมให้เกิดการใช้ B10 ทั่วประเทศเป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐาน และมี B20 ที่ใช้สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ตลาดน้ำมันปาล์มมีความสมดุลมากขึ้น, เกิดการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเป็นรูปธรรม

        โดยหัวใจของนโยบาย Energy For All คือ การนำพลังงานเข้าไปหมุนระบบเศรษฐกิจของประเทศจากฐานราก ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจฐานรากได้ถูกขับเคลื่อนแล้ว ก็จะเป็นการยกฐานของประเทศขึ้นไปทั้งระบบ จะช่วยหนุนให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าจะมีปัจจัยจากภายนอกที่ผันผวนไม่แน่นอนมากระทบก็ตาม

            ทั้งหมดคือบทสรุปคร่าวๆของความหมายพลังงานทดแทน ที่ทั่วโลกกำลังพัฒนาเพื่อทดแทนพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เคยคาดกันว่าจะหมดไปจากผิวโลกในเร็ววัน เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เริ่มขับเคลื่อนในการพัฒนาพลังงานทดแทยอย่างเป็นรูปแล้วแล้วภายใต้นโยบายขับเคลื่อน  Energy For All เพื่อเศรษฐกิจฐานราก ใน ปี 2563 นั่นเอง