ดลมนัส กาเจ
ตอนนี้ต้องยอมรับว่า หลังจากที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย “รัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกร และผู้บริโภค” ให้แบน 3 สารเคมี “พาราควอต- ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอส”กลายเป็นประเด็นร้อนที่คนภาคการเกษตร และผู้บริโภคอาหารเพื่อมสุขภาพ มีการวิภาควิจารณ์ต่างๆนาๆ และดูเหมือนว่า กำลังจะกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งของกลุ่มที่คัดค้านกับผู้ที่สนับสนุน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ยึดอาชีพเกษตรอุตสาหกรรมและเกษตรแปลงใหญ่ ส่วนใหญ่ ที่คัดค้านชนิดหัวชนฝา เนื่องจากมองว่า ยังไม่สารเคมีตัวอื่นที่แทนได้ ที่ราคาใกล้เคียง ความเป็นอันตรายที่น้อยกว่า ปลอดภัยกว่า
เนื่องเพราะภาคการเกษตรในบ้านเรานั้นต้องยอมรับว่า ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก แถมต้องต่อสู้กับปัจจัยทางธรรมชาติที่บางต้องประสบกับภัยแล้ง บางปีน้ำท่วม เนื่องจากภาคการเกษตรของไทยส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน และยังต้องสู้กับศัตรูพืชมากมาย อีกทั้งต้องเผชิญกับราคาผลผลิตทางการที่ตกต่ำ หากเลิกใช้สารพาราควอตแล้ว จะทำให้ต้นการผลิตเพิ่มขึ้นอีก นั่นแปลว่าความหายนะกำลังจะมาเยือนเพราะต้นทุนสูง แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ ส่วนผู้ที่สนับสนุนให้แบนอ้างว่า จะเป็นอันตรายสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
ขณะที่คนเดินสายกลาง มองอีกประเด็นหนึ่งคือการแบน 3 สารเคมีในครั้งนี้มีเงื่อนงำ และมีวาระซ่อนเร้น ทำให้กลายเป็นสารเคมีเมือง ที่กลุ่มเอ็นจีโอบางกลุ่มเป็นตัวเดินเรื่อง โดยเฉพาะการที่จะให้แบนพาราควอต เพราะเป็นตัวที่ขวางสารเคมีอีกยีห้อหนึ่งที่มีนักการเมืองหนุนหลังอยู่ ขายไม่ได้ เพราะราคาแพงกว่า และมีอันตรายเช่นกัน สรุปง่ายๆคือให้แบนตัวหนึ่งเพื่อจะนำเข้าอีกตัวหนึ่งนั่นเอง
ทุกวันนี้กระแสข่าวบนโลกออนไลน์มีการกระหน่ำแชร์ข้อความ ที่พูดถึงประเทศไทยจะประกาศห้ามครอบครอง ห้ามจำหน่าย ห้ามนำเข้า ห้ามผลิตการใช้สารเคมีอันตรายในภาคเกษตรกรรม 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกลโฟเซตและคลอร์ไพริฟอส ดังกล่าว ผู้ที่สนับสนุนอ้างว่าเป็นสารอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม จึงจะให้ยกเลิกการใช้
กระนั้นหากมีการยกจริง จะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรสำหรับสารเคมีตัวอื่นด้วย ที่มีอยู่ในท้องตลาดหลายยี่ห้อ หลายชนิด หลายประเภท และจะมีแนวทางในการใช้สิ่งใดทดแทนที่มีประสิทธิภาพทั้งเชิงป้องกันกำจัด ที่สะท้อนต้นทุกการที่ผลิตที่เหมาะสม ซึ่งจากปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ ทางสำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะจัดเสวนาในเรื่อง “ถ้าแบน 3 สาร อะไรจะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมไทย” ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ
ทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมเสวนากับวิทยากร เพื่อประมวลจัดทำสรุปประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมีอันตรายในภาคเกษตร 3 ชนิด และสารเคมีที่มีพิษตัวอื่น ๆ ด้วย เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในสุขภาพประชาชนคนไทย
การเสวนา “ถ้าแบน 3 สาร อะไรจะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมไทย” โดยวิทยากรแต่ละหัวข้อประกอบด้วย ผศ.ดร.สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะทำความรู้จักกับ 3 สาร และสารเคมีอันตรายตัวอื่น ๆ ,อธิบดีกรมควบคุมโรค หรือผู้แทน จะพูดถึง ผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
นอกจากนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร หรือผู้แทน จะพูดถึงมาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร และการใช้สารออร์แกนนิกทดแทน โดย, ดร.เอนก ลิ่มศรีวิไล ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตพืชพลังงานทดแทน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะสะท้อนให้เห็นผลกระทบที่ภาคการเกษตรได้รับ จากการแบนสารเคมีเกษตร, โดยมี ดร.นริศรา อินทะสิริ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คระเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเป็นผู้ดำเนินรายการ
ผลการเสวนาในครั้งนี้ จะเป็นอย่างไร 3 สารเคมีเกษตร “พาราควอต- ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอส”ควรจะแบนหรือไม่ รวมสารเคมีอื่นๆด้วยควรกำหนดทิศทางไหน จะใช้อย่างไร โปรดติดตามข่าว ทางเว็บไซต์ “เกษตรทำกิน” ต่อไปครับ