ยันม่าร์ สาธิตโรบอทแทรกเตอร์ใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงที่ก้าวล้ำแบบไร้คนขับ

  •  
  •  
  •  
  •  

นายชินจิ ซูเอนากะ (ซ้าย) ประธาน บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และนายชิเกมิ ฮิดากะ (ขวา) ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อะกริบิซิเนส จำกัด กับโรบอทแทรกเตอร์ YT5113

          บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และบริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือยันม่าร์กรุ๊ป ได้จัดจัดการสาธิตโรบอทแทรกเตอร์ที่ทำงานอัตโนมัติโดยไร้คนขับ ณ แปลงสาธิต อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยโรบอทแทรกเตอร์ดังกล่าวเกิดจากความสำเร็จของโครงการทดลองนำเทคโนโลยีดาวเทียมนำทางมาใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICAและคณะกรรมการร่วมไทย-ญี่ปุ่น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตรกรรม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรของไทยในอนาคต

         ทั้งนี้บริษัท ยันม่าร์ เชื่อว่าการใช้หุ่นยนต์เครื่องจักรกลการเกษตรเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มผลผลิตในระยะยาวเพราะคาดว่าประเทศไทยจะมีแรงงานในภาคการเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง ยันม่าร์จึงได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นโดยนำโรบอทแทรกเตอร์ที่มีวางจำหน่ายแล้วในญี่ปุ่นเมื่อเดือนตุลาคม 2561 มาทดสอบการทำงานในประเทศไทยโดยติดตั้งเทคโนโลยีนำทางที่ทางหน่วยงานภาครัฐของไทยได้พัฒนาเครือข่ายขึ้นมาก่อนหน้านี้

         นอกเหนือจากโรบอทแทรกเตอร์แล้ว ในอนาคตยันม่าร์มีแผนจะทดลองนำเทคโนโลยีดาวเทียมนำทางมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ในประเทศไทย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับลูกค้ารวมถึงลดการใช้แรงงานคนลงตามเทรนด์ในอนาคต

            สำหรับแทรกเตอร์ที่ใช้ในการสาธิต โรบอทเป็นแทรกเตอร์ รุ่น YT5113 โดยมีฟีเจอร์หลักของแทรกเตอร์ ปรกอบด้วย1.มีการทำงานให้เลือก 2 โหมด ใน “โหมดอัตโนมัติ” (Auto Mode) นอกจากแทรกเตอร์สามารถวิ่งเดินหน้าแล้ว ยังสามารถถอยหลัง หยุด และเลี้ยวได้แบบอัตโนมัติได้ ส่วนใน “โหมดเดินหน้า” (Linear Mode) อย่างเดียว แทรกเตอร์สามารถวิ่งไปมาได้ด้วยตัวเอง แต่บางคำสั่งยังต้องอาศัยการบังคับด้วยคน เช่น การเลี้ยว ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถสับเปลี่ยนการทำงานระหว่าง 2 โหมดได้ตามทักษะของคนควบคุมรถ และลักษณะงานที่ทำ

“โหมดเดินหน้า” (Linear Mode) ที่ทำงานแบบเดินหน้าอัตโนมัติ (ซ้าย) ส่วน “โหมดอัตโนมัติ” (Auto Mode) แทรกเตอร์สามารถขับขี่ได้ด้วยตัวเอง (ขวา)

          2.ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นด้วยระบบปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยตัวเองและระบบนำทางความแม่นยำสูงโรบอทแทรกเตอร์สามารถควบคุมการปฏิบัติงานและตั้งค่าผ่านแท็บเล็ตหน้าจอ 10 นิ้วได้ ซึ่งมีความทนทานและกันฝุ่นกันน้ำเพื่อให้มั่นใจได้ในสภาพการทำงานที่สมบุกสมบัน โดยผู้ใช้ 1 คนสามารถควบคุมแทรกเตอร์จากแท็บเล็ตได้สูงสุด 2 คันพร้อมกันจึงสามารถใช้แทรกเตอร์ไร้คนขับ 1 คัน และแทรกเตอร์ที่มีคนขับ 1 คัน ทำงานคู่กันไป แท็บเล็ตยังใช้งานง่ายโดยแสดงข้อมูลบนหน้าจอเป็นสัญลักษณ์และคำอธิบายเช่น การตั้งขอบเขตพื้นที่ทำงาน การกำหนดเส้นทาง และการติดตามดูแทรกเตอร์ในระหว่างทำงานผู้ใช้ 1 คนสามารถควบคุมแทรกเตอร์ได้สูงสุด2 คันพร้อมกันจากแท็บเล็ต โดยทำงานวิ่งคู่กันไป

                                                             หน้าจอการทำงานและการตั้งค่าของแท็บเล็ต

       3.วางใจได้ด้วยอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างรอบด้าน เพื่อความปลอดภัยโรบอทแทรกเตอร์ที่ทำงานได้โดยไร้คนขับจึงมีการติดตั้งเซนเซอร์จำนวนมากและสัญญาณไฟความปลอดภัยเพื่อหยุดเมื่อเข้าใกล้คนหรือสิ่งกีดกวาง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสั่งหยุดการทำงานฉุกเฉินได้จากแท็บเล็ตที่ใช้ควบคุมได้ 

                           เซนเซอร์ความปลอดภัยเพื่อตรวจจับคนและสิ่งกีดขวาง (ซ้าย) ไฟสัญญาณความปลอดภัย (ขวา)

สำหรับความเป็นมาของโครงการทดลองนำเทคโนโลยีนำทางมาใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยของยันม่าร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะร่วมกันพัฒนา “เครือข่ายเสารับสัญญาณมาตรฐาน” ที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทางขึ้นในประเทศไทย และได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือสานต่อเครือข่ายดังกล่าวในเดือนมิถุนายน 2560

        นับแต่นั้นมาทั้งสองฝ่ายได้มีความร่วมมือกันในหลายโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคมข้อมูลข่าวสารในไทยโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทางจากญี่ปุ่นภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ JICA ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ช่วยสนับสนุนรัฐบาลไทยด้านเทคนิกหลายด้าน และยังสนับสนุนภาคเอกชนของญี่ปุ่นในการนำเทคโนโลยีดาวเทียมนำทางมาช่วยพัฒนาประเทศไทย โดยยันม่าร์เป็นหนึ่งในภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่นำเทคโนโลยีข้อมูลนำทางมาทดลองใช้ในโรบอทแทรกเตอร์เพื่อช่วยพัฒนาการทำเกษตรกรรมในประเทศไทย