‘Yong Smart Farmer’ หัวใจสำคัญสู่การพัฒนาภาคเกษตรไทย

  •  
  •  
  •  
  •  

เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) นับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา Thailand 4.0 เพื่อผลักดันและพัฒนาภาคการเกษตรสู่ “เกษตร 4.0”

หากเจียรนัยภาคการเกษตรของไทยนั้น แม้จะนำหน้ากลุ่มประเทศในอาเซียนด้วยกัน แต่ถ้าเทียบกับประเทศเกษตรกรรมที่พัฒนาแล้วในทวีปอเมริกา อเมริกาใต้ ยุโรป ญี่ปุ่น แม้แต่ในเอเซียอย่างญี่ปุ่น  อินเดีย และหลายประเทศถือว่ายังล้าหลังพอสมควร โดยเฉพาะเข้าถึงเทคโนโลยีและวนัตกรรมสมัยใหม่ อันจะนำไปสู่การเกษตรที่มีต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ เพราะการเกษตรของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นการเกษตรที่ทำตามกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยาม เพื่อให้สอดกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี เพื่อเข้าสู่  “Thailand 4.0” นั่นคือการผลักดันและพัฒนาภาคการเกษตรสู่ “เกษตร 4.0″ ด้วยการดำเนินโครงการให้เกษตรกรยกระดับตัวเองเข้าสู่ยุค “เกษตรสมัยใหม่” ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สมาร์ท ฟาร์ม” (Smart Farm)  “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) คือ“เกษตรอัจฉริยะ” หรือเกษตรปราดเปรียว ผู้นำเกษตรกรหรือผู้จัดการฟาร์มอย่างมืออาชีพ และขยับเข้าสู่ สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) คือเกษตรกรรมยุคใหม่ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มเกษตร อย่างที่เคยอธิบายมาก่อนหน้านี้แล้ว

กระนั้นก็ตาม การปั้นเกษตรกรรุ่นใหม่ทั้งสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ อาทิ เงินทุนที่มีจำนวนที่มากขึ้น เนื่องเพราะเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะเกษตรกรรายย่อย ฐานะยากจน ทางออก คือ ต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อใช้เทคโนโลยีร่วมกันในรูปแบบของบริหารของององค์กร

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งเกษตรกรไทยส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างสูง ความล้าหลังในการใช้เทคโนโลยี (ไม้แก่ดัดอยาก) ทางออกที่รัฐบาล และเอกชนกำลังขับเคลื่อนเพื่อให้ “เกษตร 4.0” บรรลุดตามเป้าหมายคือ การสร้าง หรือ ปั้น เด็กรุ่นใหม่ตั้งแต่วัยเรียน เพื่อซึมซับและมองความสำคัญของอาชีพด้านการเกษตร ด้วยการ ‘ปั้นเยาวชนเกษตรขึ้นมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่’  หรือที่เรียกว่า  “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Young Smart Farmer) คือเกษตรกรรุ่นใหม่ ปัจจุบันอยู่กว่า 9,600 รายทั่วประเทศ

การปั้น “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” ถือเป็นการเริ่มเสริมสร้างความรู้ด้านการเกษตรแบบรุ่นใหม่ให้กับเยาวชนตั้งแต่สถาบันการศึกษาในระดับประถม หรือเยาวชนทั่วไปที่อายุไม่ควรเกิน 45 ปี ที่เยาวชนซึ่งเป็นบุตรหลายเกษตรกรให้รู้เรื่องการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ วิเคราะห์สภาพดิน การเตรียมดิน การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การดูแลจัดการด้วยระบบเกษตรแม่นยำ การเก็บเกียว การแปรรูป การตลาดให้ครบวงจร เพื่อสร้างเยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่มใหม่ในอนาคต ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ทั้งมีความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพทางการเกษตร พึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งให้แก่เพื่อนเกษตรกรได้

ในส่วนแผนการขับเคลื่อนการพัฒนา ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางกรอบแนวทางไว้ ประกอบด้วยหลักสูตรอบรมในแต่ละระดับ คือ

1.เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรรุ่นใหม่แต่ละรุ่น

2.มีการพัฒนากิจกรรมการเกษตรด้วยนวัตกรรม รวมทั้งบริการจัดการกิจกรรมเกษตรด้วนระบบ IoT (internet of Things)

3.พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (StartUp) รวมทั้งพัฒนาระบบธุรกิจเกษตรด้วยนวัตกรรม, Smart Farm, Digital Market, และ

4.สินค้าเกษตรได้รับรองมาตรฐานสากล Go to Global และยกระดับผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่สากล

ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับองค์การตลาดเพื้อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และเครือข่าย ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์  ดำเนินโครงการตลาดยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์  อ.ต.ก.โดยมีเจ้าหน้าที่ อ.ต.ก. มาเป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรุกษาแนะนำ ให้ความรู้ด้านระบบการบริหารจัดการตลาดแบบครบวงจร ให้กับเครือข่าย ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์  ได้เรียนรู้การบริหารจัดการตลาด การสร้างช่องทางการตลาด เพื่อให้มีความพร้อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อประเมินผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้การตลาดแบบหมุนเวียนของเครือข่าย และเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลาดของร้านค้า ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์  พร้อมทั้งร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการตลาดแบบหมุนเวียนในครั้งนี้ เป็นต้น

โดย คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ คือ จะต้องมีความรู้เรื่องที่ทำ , มีข้อมูลตัดสินใจ , มีการจัดการผลผลิต/ตลาดใส่ใจคุณภาพรับผิดชอบสังคม/สิ่งแวดล้อม, ภาคภูมิใจที่เป็นเกษตรกรโดยเกษตรกรรุ่นใหม่จะต้องได้รับการประเมินศักยภาพและต้องผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี  , เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ว่านี้  มีอายุระหว่าง 17-45 ปี

ทั้งนี้ เกษตรกรและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์  สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรเภอ ใกล้บ้านหรือสามารถรับสมัครได้กับเครือข่าย YSF Thailand ซึ่งก็จะประสานกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรอีกทางหนึ่ง

 

ที่มา : bangkokbanksme  : https://www.bangkokbanksme.com/article/28823