ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จับมือ ซีพีเอฟ เดินสายให้ความรู้ด้านบริหารจัดการเงิน พร้อมส่งเสริมวินัยในการออมเงินให้แก่พนักงานและคนงานในสถานประกอบการของซีพีเอฟทั่วประเทศ หวังปลดหนี้ และปูรากฐานสุขภาพการเงินที่มั่นคง เพื่อสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานในองค์กร
นางจิตภินันท์ รัตนชัยสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านบริหารงานพนักงานสัมพันธ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานซึ่งถือเป็นกำลังในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจและองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยมีเป้าหมายสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุข มีขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล จึงได้จัดโครงการ“ปลดหนี้ สร้างสุขและส่งเสริมการออม”ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อช่วยเหลือพนักงานหรือคนงานที่มีปัญหาหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้นอกระบบ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ได้ด้วยตัวเอง โดยในปี 2562 เข้าสู่ปีที่ 4 ของโครงการฯ เดินหน้าสร้างความสุขในการทำงานให้แก่พนักงาน จากการติดตามผลโครงการฯ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าพนักงานและคนงานที่เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
“ปีนี้ ซีพีเอฟได้ร่วมกับแบงก์อิสลามฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการปลดหนี้ ฯ ลงพื้นที่สถานประกอบการของซีพีเอฟ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านบริหารการเงินเพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้างรากฐานด้านการเงินที่มั่นคงให้แก่พนักงานและคนงาน อาทิ ติดตามการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวันของครัวเรือน ให้คำแนะนำในการวิเคราะห์รายจ่าย และจัดสัดส่วนการออมเงิน เป็นต้น “นางจิตภินันท์ กล่าว
รองกรรมการผู้จัดการ ด้านบริหารงานพนักงานสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวอีกมว่า เจ้าหน้าที่ของธนาคารอิสลามฯที่ลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านการเงินแก่พนักงาน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์สินชื่อ ทำให้กระบวนการพิจารณาเพื่อเข้าร่วมโครงการปลดหนี้ ฯเร็วขึ้น สามารถช่วยเหลือคนที่มีหนี้ได้จริง
ด้านนางสาวเบญญาดา สิริวิภากร รองผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการปลดหนี้ ฯเป็นโครงการที่ดีและเกิดประโยชน์ต่อพนักงานและคนงานที่มีปัญหาหนึ้ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้บัตรเครดิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน หลังจากที่เข้าร่วมโครงการฯแล้ว พนักงานและคนงานมีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมให้ความรู้การบริหารจัดการเงิน ช่วยให้พนักงานบริหารจัดการหนี้ของตัวเองและสามารถจัดสรรเงินสำหรับการออม
“ผู้เข้าร่วมโครงการปลดหนี้ฯ มีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น มีเงินเหลือพอใช้ในแต่ละเดือน และมีเงินออม ซึ่งธนาคารฯมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีหนี้หลายทาง ต้องจัดลำดับการปลดหนี้ อาทิ 1.หนี้ที่ไม่มีหน่วยงานใดกำกับดูแลหรือหนี้นอกระบบ 2.หนี้ของสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยแพง ยกตัวอย่างสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ หนี้บัตรเครดิต และ 3. หนี้ที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่า หรือถ้าเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยเท่าๆกัน ให้เริ่มปลดหนี้จากหนี้ก้อนที่น้อยที่สุดก่อน” รองผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อรายย่อย แบงก์อิสลามกล่าว
ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการปลดหนี้สร้างสุขและส่งเสริมการออม โดยริเริ่มจากสายธุรกิจสุกรเมื่อปี 2558 ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 3 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯและปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษให้แก่พนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
“ผู้เข้าร่วมโครงการปลดหนี้ฯ มีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น มีเงินเหลือพอใช้ในแต่ละเดือน และมีเงินออม ซึ่งธนาคารฯมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีหนี้หลายทาง ต้องจัดลำดับการปลดหนี้ อาทิ 1.หนี้ที่ไม่มีหน่วยงานใดกำกับดูแลหรือหนี้นอกระบบ 2.หนี้ของสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยแพง ยกตัวอย่างสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับ หนี้บัตรเครดิต และ 3. หนี้ที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่า หรือถ้าเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยเท่าๆกัน ให้เริ่มปลดหนี้จากหนี้ก้อนที่น้อยที่สุดก่อน” รองผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อรายย่อย แบงก์อิสลามกล่าว
ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการปลดหนี้สร้างสุขและส่งเสริมการออม โดยริเริ่มจากสายธุรกิจสุกรเมื่อปี 2558 ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 3 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯและปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษให้แก่พนักงาน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย