ชูกุ้งไทยดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพ-อาหารปลอดภัย

  •  
  •  
  •  
  •  

สมาคมกุ้งไทยสรุปสถานการอุตสาหกรรมกุ้งปีนี้ลดลงร้อยละ 33 เกิดจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ปัญหาโรค และราคากุ้งที่ไม่จูงใจ/ต่ำ ชี้ปีหน้าไทยมีโอกาสหากทุกฝ่ายร่วมมือกัน ฝากรัฐทำประชาสัมพันธ์เชิงรุกบอกชาวโลก กุ้งไทยดีที่สุดในโลก ทั้งคุณภาพ-อาหารปลอดภัย

         วันที่13 ธันวาคม 2561 ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย นำทีมคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประกอบด้วย ท.พ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกกิตติมศักดิ์สมาคมกุ้งไทย และนายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคม และประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ นายสมชาย ฤกษ์โภคี เลขาธิการสมาคม และ ที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี นางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ กรรมการสมาคมกุ้งตะวันออกไทย

       ดร.สมศักดิ์  เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งของไทย ปี 2561 ว่า ผลผลิตกุ้งเลี้ยงปี 2561 โดยรวมอยู่ที่ประมาณ 290,000 ตัน ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 3 คาดปี 2562 จะผลิตกุ้งได้ 310,000-320,000 ตัน ส่วนปี 2561 ประมาณการผลผลิตกุ้งไทย ปี 2561 อยู่ที่ 290,000 ตัน โดยร้อยละ 33 เป็นผลผลิตกุ้งจากภาคใต้ตอนล่าง ร้อยละ 29 จากภาคใต้ตอนบน ร้อยละ 24 จากภาคตะวันออก และร้อยละ 14 จากภาคกลาง ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งผลิตกุ้งได้ 300,000 ตัน ถือว่าผลิตได้ลดลงเล็กน้อย

           ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศแปรปรวน ปัญหาโรค และราคากุ้งที่ไม่จูงใจ/ต่ำ ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ดังแสดงในตารางที่  ถือเป็นปีที่หลายประเทศ เช่น เอกวาดอร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฯลฯ ผลิตกุ้งได้เพิ่มมากขึ้น อินเดียครึ่งปีแรกผลผลิตทะลักออกมามาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ากุ้งในประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของกุ้งไทยในตลาดโลก

          ส่วนข้อมูลการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. ปีนี้ ปริมาณ 143,129 ตัน มูลค่า 45,545 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ที่ส่งออกปริมาณ 167,418 ตัน มูลค่า 56,105 ล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณ และมูลค่า ที่ ร้อยละ ) นายกสมาคมกุ้งไทย14.51 และ ร้อยละ 18.82 ตามลำดับ

 

            ด้านนายปกครอง กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ตอนล่างว่า ผลผลิตปี 2561 คาดการณ์ว่ามีผลผลิตประมาณ 95,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 2 จากปัญหาจากภาวะราคากุ้งผันผวนทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งฝั่งอันดามันปรับตัวไปเลี้ยงกุ้งกุลาดำมากขึ้น

           ส่วนนายสมชาย กล่าวว่า สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภาคใต้ตอนบน ในภาพรวมไม่ค่อยดีมากนัก มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากภูมิอากาศของประเทศทั่วทุกภาคมีฝนตกเกือบตลอดปี อากาศแปรปรวนตลอดเวลาทำให้การเลี้ยงค่อนข้างยาก โรคไวรัสตัวแดงดวงขาว และขี้ขาวยังคงรุมเร้าทุกพื้นที่การเลี้ยง ผลผลิตรวมของภาคใต้ตอนบนอยู่ที่ประมาณ 84,000 ตัน มากที่สุดคือจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 40,000 ตัน

         ขณะที่นางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ กรรมการสมาคมกุ้งตะวันออกไทย กล่าวว่า “ปี 2561 ประมาณการผลผลิตกุ้งภาคตะวันออกประมาณ 71,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 11 เป็นผลมาจาก สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้เกิดความเสียหายจากโรคระบาด รวมถึงเกิดวิกฤตราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรหยุดหรือชะลอการเลี้ยง รวมทั้งมีการลดพื้นที่เลี้ยง ลดความหนาแน่นในการปล่อย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ปี 2562 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ขณะที่การเลี้ยงกุ้งภาคกลางคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 40,000 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6 จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ และมาตรา 9 ทำให้เกษตรกรบางรายต้องเลิกเลี้ยง

        ท.พ.สุรพล กล่าวว่า ถึงแม้อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องเจอปัจจัยลบหลายประการแต่ด้วยศักยภาพของอุตสาหกรรมกุ้งไทยที่ถึงแม้มีพื้นที่น้อยกว่า ประสิทธิภาพการเลี้ยงที่มีมากกว่าคู่แข่ง การคมนาคมและระบบไฟฟ้าที่เอื้อให้ผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้ง่ายกว่า รวมถึงการขยายตัวของตลาดภายในและตลาดพิเศษมูลค่าสูงอย่างจีน ทำให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยยังคงยืนหยัดอยู่ได้

       อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมกุ้งไทยในปีนี้อาจจะดูสถานการณ์ไม่ค่อยดี แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่อุตสาหกรรมกุ้งไทยจะพลิกฟื้นกลับมาได้ โดยเฉพาะจากผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ส่งผลให้ประเทศจีนย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศมากขึ้น ไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่จีนให้ความสนใจ เพราะระบบต่างๆ มีความพร้อม และเอื้ออำนวยต่อการลงทุน … แต่กระนั้นอุตสาหกรรมกุ้งจะต้องมีการปรับตัว ภาคเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องเน้นเลี้ยงกุ้งคุณภาพแทนตั้งเป้าปริมาณผลผลิต เลี้ยงไซส์ใหญ่เพื่อทำราคา เพราะเราไม่สามารถแข่งขันเรื่องต้นทุนกับกุ้งไซส์เล็กของประเทศคู่แข่งได้ ด้วยศักยภาพของลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก จากสายพันธุ์ที่โตเร็ว แข็งแรง ปลอดโรค ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงที่จะผลิตกุ้งไซส์ใหญ่

          นอกจากนี้ ต้องไม่ใช้ยาปฏิชีวนะหรือสารเคมีต้องห้ามในการเลี้ยงเป็นอันขาด เพราะนี่คือจุดแข็งของกุ้งไทยที่เหนือกว่าประเทศคู่แข่ง และเป็นที่ยอมรับจากผู้นำเข้าและผู้บริโภค ที่ผ่านมาสินค้ากุ้งไทยไม่เคยถูกตรวจพบและถูกตีกลับจากปัญหาเหล่านี้ เราต้องมุ่งเน้นทำตลาดสินค้าระดับสูงที่ต้องการสินค้าคุณภาพ ที่สำคัญภาครัฐต้องมาช่วยทำประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ให้ชาวโลกรับรู้ถึงภาพลักษณ์ที่ดีของกุ้งไทย “กุ้งไทยดีที่สุดในโลก” ที่มีคุณภาพระดับพรีเมี่ยม เป็นอาหารปลอดภัย (Food Safety ดีที่สุดเมื่อเทียบกับที่อื่น) รวมถึงการให้โอกาสเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน การเสริมสภาพคล่องให้กับภาคการผลิต ภาคการส่งออก และส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เป็นต้น