เปิดใจCEOหนุ่ม “เมดิ เซนท์-อังเดร์”ผู้คุมบังเหียน”ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง”ในสถานการณ์ที่เปลี่ยน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส กาเจ

       “สำคัญต้องดูด้วยว่า เมื่อสินค้าเกษตรประเภทไหนราคาตก ไม่มีแรงจูงใจ อย่างยางพาราราคาตกต่ำ แต่ไม้ผลอย่างทุเรียนกำลังมาแรง เราต้องเน้นไปที่พืชนิดนี้ เราต้องเอารายส่วนนี้มาเฉลี่ยเป็นรายได้รวม เราเน้นภาพรวมทั้งหมดว่า เราจะโตเท่าไรในแต่ละปีเท่าไร เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้”

          รวมเวลากว่า 1 ขวบปีแล้วที่ CEO หนุ่มไฟแรงจากฝรั่งเศส “มร.เมดิ เซนท์-อังเดร์” มาคุมบังเหียนนาวา “ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง”ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560  ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และรองประธานกลุ่มเทคโนโลยีหรือ Crop Nutrition บริษัทยารา (ประเทศไทย) จำกัด  ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีจากนอร์เวย์ “ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง” ท่ามกลางความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร และการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาคการเกษตรครั้งใหญ่ของรัฐบาล คสช.ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์  จันทรืโอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ที่เขาต้องใช้ความรู้ประสบการณ์และความสามารถที่ท้าทายยุคสรรคต่างๆว่า ทิศทางของตลาด “ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง” จะไปทางไหน? หลังจากที่ศาลฎีกา พิพากษาว่า “ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง” เป็นของบริษัทยารา (ประเทศไทย) จำกัด เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้น  

          “ สวัสดีครับ ผมชื่อเมดิ เซนท์- อังเดร์ เป็นคนสัญชาติฝรั่งเศส ผมทำงานกับยารามากว่า 13 ปี ใน 3 ทวีป คือ ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ปัจจุบันผมดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและรองประธานกลุ่มเทคโนโลยีหรือ Crop Nutrition ของบริษัทยารา (ประเทศไทย) ซึ่งเพิ่งรับหน้าที่นี้มาได้ 15 เดือน ก่อนหน้านี้ผมเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทยาราในประเทศเวียตนามมาเป็นเวลา 4 ปี และประเทศกานาอีก 5 ปีครับ” เป็นคำทักทายแรกของ CEO หนุ่มจากเมืองน้ำหอม

             “อื่นผมจะเล่าเกี่ยวกับบริษัทยาราก่อนครับ คือยาราก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2448 ที่ประเทศนอร์เวย์ เป็นปีเดียวกันกับการสถาปนาประเทศนอร์เวย์ นั่นแปลว่า การก่อเกิดของยารานั้นพร้อมๆกับการก่อเกิดของประเทศนอร์เวย์ นั่นเอง ตอนนั้นได้มีการคิดค้นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนอร์เวย์และรวมถึงระดับโลกด้วย นั่นคือ ในขณะที่ทั่วโลกมีปัญหาด้านความอดอยากขาดแคลนอาหาร และการทำการเกษตรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยาราเป็นบริษัทแรกในโลกที่สามารถสกัดธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ซึ่งต้องขอบคุณไฟฟ้าพลังน้ำของนอร์เวย์ที่นำมาใช้ในการสกัดปุ๋ยได้ในครั้งนั้น” เขาทิ้งช่วงนิดหนึ่งก่อนเอยว่า

             “เมื่แปีพ.ศ. 2450 มีเหตุการณ์สำคัญที่ประวัติศาสตร์ของยาราต้องจารึกไว้คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสไปยังทวีปยุโรป และมีโอกาสเสด็จประพาสโรงงานผลิตปุ๋ยยาราที่ประเทศนอร์เวย์ด้วย ซึ่งเราจะเห็นภาพนี้ปรากฎอยู่ในแบงค์ 100 รุ่นใหม่ของไทยด้วย ปุ๋ยธาตุอาหารชนิดแรกนี้ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้นำกลับไปยังประเทศไทยด้วย นั่นแปลว่าปุ๋ยยารามีความผูกพันและมีการใช้ในประเทศไทยมานานกว่า 100 ปีแล้ว  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นี้ก็ยังมีจำหน่ายอยู่  และใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรไทย โดยเฉพาะในการทำสวนลำไย ทุเรียน ผักชนิดต่างๆ และมะนาว ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้รู้จักกันในชื่อ “ยาราลีว่า” ครับ ซึ่งความจริงแล้วในปัจจุบันยารารับผิดชอบในการสนับสนุนอาหารให้กับประชากรโลกและปกป้องโลกด้วยพนักงานกว่า 17,000 คน เราเปิดบริษัทดำเนินการในประเทศต่างๆมากกว่า 60 ประเทศ ใน 6 ทวีป และมีโรงงานมากกว่า 25 แห่ง ผมกล้าพูดได้อย่างมั่นใจว่าเราเป็นผู้นำในระดับโลกด้านโภชนาการพืช”

ทำตลาดในประเทศไทยจริงๆกว่า 45 ปีแล้ว

           “ยาราได้เริ่มนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อกว่า 45 ปีก่อน โดยผ่านตัวแทนจำหน่าย แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ “ตราเรือใบไวกิ้ง” ซึ่งมาจากโลโก้ของเราที่เป็นรูปเรือใบไวกิ้ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนอร์เวย์ครับ  มาถึงตอนนี้ ผมพูดได้เลยว่ายาราคือแบรนด์อันดับ 1 ในหลายกลุ่มพืช และเราคือผู้นำทางด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายปุ๋ยไนเตรตคุณภาพสูง หรือปุ๋ย NPK ในประเทศไทย”

ในสถาการณ์สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ นโยบายรัฐเปลี่ยนมีกลยุทธอย่างไร?

ยาราก็ยังมีแนวทางที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายแห่งชาติ หรือ “ ไทยแลนด์ 4.0” อยู่แล้ว นั่นคือ เราเป็นเจ้าแรกที่ให้ความสำคัญกับความต้องการของเกษตรกร เป็นบริษัทที่มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง เราให้การสนับสนุนการทำการเกษตรที่ฉลาด และยั่งยืนเราจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเราผ่านพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในท้องถิ่นที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์มากกว่า 160 ราย  และตัวแทนจำหน่ายรายย่อยมากกว่า 3,000 ราย ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEsเหล่านี้แหละ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจไทย  โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ  ทุกวันนี้เราส่งตัวแทนไปพบกับแกนำเกษตรกรปีละกว่า 5 หมื่นราย และเรากำลังพัฒนาให้ความรู้แก่เกษตรกรผ่านระบบอนนไลน์ด้วย และเกษตรกรเหล่านี้นำข้อมูลไปขยายต่อ และที่สำคัญต้องดูด้วยว่า เมื่อสินค้าเกษตรประเภทไหนราคาตก ไม่มีแรงจูงใจ อย่างยางพาราราคาตกต่ำ แต่ไม้ผลอย่างทุเรียนกำลังมาแรง เราต้องเน้นไปที่พืชนิดนี้ เราต้องเอารายส่วนนี้มาเฉลี่ยเป็นรายได้รวม เราเน้นภาพรวมทั้งหมดว่า เราจะโตเท่าไรในแต่ละปีเท่าไร เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้”

Digital Farming  หัวใจสำคัญที่จะให้ถึงเกษตรกร

 “ตอนนี้เราจะไม่เน้นขายสินค้า และบริการหลังขายอย่างเดียว แต่เราให้ความรู้ด้านการเกษตร โดยเฉพาะใช้เทคโนโลยี หรือ Digital Farming  ที่เราต้องนำความรู้ ด้านเครื่องมือ และข้อมูลมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อผลักดันและสนับสนุนเกษตรกร  ผมเชื่อว่ายุทธวิธีท้องถิ่น ซึ่งมีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง บวกกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เข้มแข็งกับ SME และนวัตกรรมดิจิตัลจะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของไทยมีการเปลี่ยนแปลง และยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่คิดจะลงทุนในด้านการเกษตรด้วย ทุกวันนี้เราได้พบกับเกษตรกรไทยที่มีความสามารถสูง มีความก้าวหน้า และทำกำไรได้มากขึ้น อาทิ เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนและส้มเขียวหวาน ซึ่งเราในฐานะที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตร ก็มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้การเกษตรเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับเด็กๆ อีกด้วย”

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ยาราเป็นแบรนด์ปุ๋ยอันดับ 1 ในประเทศไทยได้

          “นอกเหนือไปจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่า บวกกับความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่มีต้นกำเนิดมาจากนอร์เวย์แล้ว องค์กรของเรายังให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ในด้านการเพาะปลูกรวมถึงทางออกของปัญหาที่เราส่งมอบไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ เราต้องยอมรับว่าบุคลากรที่มีความรักในสิ่งที่ทำเป็นกลไกสำคัญของเรา รวมไปถึงความปลอดภัยและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจแต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของเรากับตัวแทนจำหน่าย 160 ราย ซึ่งทำให้เราแตกต่างและไม่เหมือนใคร ความสัมพันธ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์จากการร่วมมือกันนี้มีมายาวนานกว่า 45 ปี และเรามีความภาคภูมิใจมากครับที่มีเครือข่ายที่ช่วยเหลือสนับสนุนในด้านการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆในประเทศไทย”

เห็นว่าตอนนี้กำลังจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่

           “ใช่ครับ เดิมที่เราเน้นปุ๋ยสำหรับพืช 5 หลักคือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ลำไย และพืชผัก แต่ครอบคลุมพืชชนิดต่างๆกว่า 20 ชนิด ล่าสุดบริษัทได้เล็งเห็นว่า ประเทศไทยยังมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาจากต่างประเทศปีละจำนวนมาก เพราะผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอ ในขณะที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในด้านการเกษตร จึงมองว่า ควรส่งเสริมเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงผลิตปุ๋ยสูตรใหม่ ยารา มิร่าสูตร  23-8-8 สำหรับข้าวโพดในประเทศไทยโดยเฉพาะจะวางจำหน่ายภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 นี้ เป็นปุ๋ยสูตรใหม่ ต่างกับปุ่ญสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ยาราจำหน่ายสำหรับข้าวโพดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นปุ๋ยที่ผลิตในประเทศฟินแลนด์ และเป็นปุ๋ยที่ตรงกับงานวิจัยที่เหมาะสำหรับดินที่จะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย”

ดูเหมือนว่า“ ปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง”ราคาจะสูงเมื่อเทียบแบรนด์อื่น?

             “ยอมรับครับว่าราคาอาจสูงกว่ารายอื่นๆ แต่ของเราเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง ส่วนของรายอื่นเป็นการผสมหัวปุ๋ยธาตุอาหาร NPK อยู่กันคนละเม็ด ถ้าผสมไม่ดีพออาจเพี้ยน แต่ของเราใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ธาตุอาหารหลัก NPK จะอยู่ในปุ๋ยเม็ดเดียวกัน เพียงเอาปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้งมา 1 เม็ด จะมีธาตุอาหารครบตามที่สูตรกำหนด ที่สำคัญปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้งไม่ต้องใช้ในปริมาณเยอะ ใช้น้อยๆ เพราะมีคุณภาพสูง ถ้ารวมเบ็ดเสร็จแล้วพื้นที่การเกษตรเท่ากัน จะประหยัดกว่า เพราะไม่ต้องใช้เยอะนั่นเอง”

ตอนนี้มีแบรนด์ที่คล้ายๆกันจะทำให้เกษตรกรสับสนหรือไม่?

            “ถูกต้องครับ เป็นความจริงที่มีความสับสนเกิดขึ้นในท้องตลาดเมื่อพูดถึงมุมมองของเกษตรกรที่เป็นผู้ใช้สินค้า และเราในฐานะที่อยู่ในอุตสากหรรมการเกษตรก็พยายามที่จะให้ข้อมูลที่ชัดเจนตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะบอกกับกลุ่มเกษตรกร  เห็นได้ชัดว่าเกษตรกรมีความสับสนเนื่องมาจากแบรนด์ที่ใกล้เคียงกับเราซึ่งจำหน่ายและมีการโฆษณาในประเทศไทยมาหลายปี แต่ผมขอบอกให้ชัดเจนตรงนี้ว่า ยารา คือปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้งเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่มีประวัติมายาวนานกว่า 113 ปี และ 45 ปีในประเทศไทย หากมีข้อสงสัย เรามีช่องทางที่ทันสมัยที่จะให้ความกระจ่างกับเกษตรกรได้ และฝากถึงเกษตรกรทุกท่านว่าอย่าลังเลที่จะติดต่อตัวแทนจำหน่ายทั้งรายใหญ่หรือรายย่อยในท้องถิ่น หรือติดต่อยาราโดยตรงผ่านทางเฟซบุ๊คหรือเว็บไซต์เพื่อค้นหาจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาราของแท้ที่ใกล้ท่านที่สุดนะครับ “

 

             ทั้งหมดนี้เป็นคิดอันท้าทายของ CEO หนุ่มแห่งปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้ง “มร.เมดิ เซนท์-อังเดร์” ที่จะนำพาเรือใบไวกิ้ง ให้โลดแล่นได้ถึงฝั่งในยามที่สถานการณ์ทางการเกษตร และสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง