ลงมติ เลือกจัด การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 “Asian Horticultural Congress (AHC 2020)”ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดที่กรุงเทพฯ ประกาศดันดันไทยสู่ศูนย์กลางความรู้พืชสวนเอเชียควบคู่ไปกับงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2020
ผลการประชุมครั้งล่าสุด สรุปการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 เลือกกรุงเทพ ประเทศไทย ควบคู่ไปกับการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2020 จัดโดย สมาคมพืชสวนนานาชาติ(ISHS) สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย (HSST) และ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ร่วมจัดงานเพื่อเชื่อมโยงงานวิชาการและการแสดงสินค้า เข้าด้วยกัน
สำหรับการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ‘Asian Horticultural Congress (AHC 2020)’ จะกลับมาอีกครั้งในปี 2563 หลังจากการประชุมครั้งล่าสุด ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี 2559 การประชุมนี้จะเป็นเวทีสนทนาและแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ที่จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานประชุมได้ก้าวทันองค์ความรู้ใหม่ๆ และนวัตกรรมล่าสุดเกี่ยวกับพืชสวนและอุตสาหกรรมพืชสวนที่เกี่ยวข้อง โดยผู้จัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย ได้รับเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมนานาชาติระดับภูมิภาคครั้งนี้
การประชุม วิชาการพืชสวนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 นับเป็นจุดสำคัญที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมพืชสวนของเอเชีย โดยผู้ขับเคลื่อนหลักๆ ในวงการพืชสวนซึ่งประเทศในแถบเอเชียได้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร เนื่องจากภูมิภาคเอเซียได้พัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า องค์ความรู้ การสร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ มีงานวิจัยเกิดขึ้นมากมายทั้งจากบริษัทต่างๆ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งภายในงานประชุมนานาชาติครั้งนี้จะเป็นศูนย์กลางที่รวมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิชาการด้านพืชสวน มากกว่า 100 คนจากทั่วเอเชียและนอกภูมิภาคเอเซียมารวมตัวกัน โดยงานฮอร์ติ เอเชีย ก็พร้อมที่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงในการนำ องค์ความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพืชสวนเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้พบแนวทางการแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติที่ดีขึ้น
Mr. Jozef Van Assche กรรมการบริหาร สมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science)กล่าวว่า ไม่เคยมีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่า ผักและผลไม้มีความสำคัญมากขึ้นในอาหารประจำวันของมนุษย์ซึ่งดอกไม้และไม้ประดับถูกนำมาเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของโลก การประชุม AHC 2020 จึงพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการในภูมิภาคเอเชีย และประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การจัดประชุม AHC 2020 และงาน Horti ASIA 2020 ในช่วงเวลาเดียวกัน จะเป็นการเชื่อมโยงงานวิชาการและอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และเป็นการเชิญชวนให้นักวิชาการด้านพืชสวนมาอยู่ในระดับแถวหน้าในงานดังกล่าว ขอให้พวกเราร่วมแรงร่วมพลังและสร้างความสำเร็จของงานให้เกิดขึ้น
ด้าน ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานประชุม AHC 2020 จะเป็นเวทีที่มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ การนำเสนอนวัตกรรมพืชสวนในสาขาต่างๆ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิชาการด้านพืชสวน ในเอเชียกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเป็นงานประชุมวิชาการ 2 วัน และทัศนศึกษา 1 วัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมแหล่งผลิตและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ ไม่ว่า นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นิสิตนักศึกษา หน่วยงานภาครัฐสมาคม เกษตรกรผู้ประกอบการ และนักวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ท่านจะได้พบกับเพื่อนในแวดวง อุตสาหกรรมพืชสวนจากนานาประเทศ แล้ว ท่านยังจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวไทยในดินแดนแห่งสยามเมืองยิ้ม
“องค์ความรู้คือหัวใจที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชสวน ซึ่งจะขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาใหม่ๆ ในทุกๆ วัน ในฐานะผู้จัดงาน Horti ASIA และ AGRITECHNICA ASIA ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อนรับผู้เข้าร่วมงานประชุม AHC ทุกท่านอย่างอบอุ่น การค้นพบงานวิชาการถือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างวิสัยทัศน์ และกระตุ้นให้เกิดผลิตภัณฑ์แ ให้แก่ตลาดพืชสวน พวกเราทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองความท้าทายด้านการผลิตอาหารของโลกตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ” ดร.อนันต์ กล่าว
ขณะที่ Mr.ManuelMadani ผู้จัดการโครงการ Horti ASIA กล่าวว่า ทุกวันนี้การปลูกพืชแบบอัจฉริยะได้สร้างให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และนำไปสู่การขับเคลื่อนในอุตสาหกรรม ซึ่งวิทยาศาสาตร์และการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถือเป็นรากฐานสำคัญ เราจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างงาน Horti ASIA ให้กลายเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ใหม่ๆ จากเกษตรกรและผู้ปลูกที่แท้จริง ซึ่งผู้เข้าชมงานสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการในงาน
“นี่คือสิ่งที่ได้รับการพัฒนาเมื่อเร็วๆ นี้ภายในงาน Horti ASIA ซึ่งเป็นการปรับกระบวนความคิดให้เกิดการแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูก นักธุรกิจ นักปรับปรุงพันธุ์ ผู้บริการนำเข้าส่งออก หรือ ผู้ผลิตอาหารแปรรูปก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของงาน เราเชื่อมั่นว่า การแบ่งปันองค์ความรู้จะช่วยเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรและสร้างความเจริญเติบโตในที่สุด” เขา กล่าว
ความท้าทายที่สำคัญที่กำลังเป็นที่จับตามองคือ ความปลอดภัยของอาหารประสิทธิภาพของการใช้น้ำ กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาผลผลิตด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น ซึ่งมีทำให้ผลผลิตพืชสวนมีคุณภาพคงที่เมื่อเราประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก็จะส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงตามไปด้วย ปัจจุบันการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงและความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผลผลิตสด อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการบริโภค การปรับปรุงพันธุ์ การออกแบบวิศวกรรมย้อนกลับเพื่อตอบสนองกับความต้องการ การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ขับเคลื่อนห่วงโซ่อาหาร
[adrotate banner=”3″]
“ ในฐานะผู้จัดงาน Horti ASIA เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับงาน Asian Horticultural Congress เรียกได้ว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีด้านพืชสวนที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค สำหรับการจัดงานที่ผ่านมา ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเรือนกระจก และการทำเกษตรอินทรีย์ ได้ดึงดูดผู้เข้าชมงานประมาณ 11,000 รายและผู้เชี่ยวชาญรวม 829 คนจากทั่วเอเชีย ในปี 2563เราคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานเพิ่มขึ้น เช่นปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ เป็นต้น” Mr.ManuelMadani กล่าว
ผู้จัดการโครงการ Horti ASIA กล่าวอีกว่า การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 3 ‘Asian Horticultural Congress (AHC 2020)’ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ณ กรุงเทพ ประเทศไทย ควบคู่ไปกับงานแสดงปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและนวัตกรรมด้านการปลูกพืชผัก ไม้ผล และดอกไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (Horti ASIA 2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย อาวุโส นักวิจัยรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องในวงการพืชสวนและอุตสาหกรรมพืชสวน ได้นำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรมด้านพืชสวน เพื่อแสดงศักยภาพด้านพืชสวนของไทยให้เป็นที่รับรู้และยอมรับของนานาชาติ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัยด้านพืชสวนและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ