ซินเจนทา ร่วมมือกับกลุ่มร้านค้าทั่วไทย เปิด “ศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย” ประจำภาคใต้ ชูหลัก 5 ช. ตั้งเป้าสร้างความเข้ารู้ ความเข้าใจแก่เกษตรกรใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างถูกต้อง หวังปี 2563 พื้นที่เกษตรกรรมไทยอย่างน้อย 50 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33 จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 149 ล้านไร่จะเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
วัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนธุรกิจ ประเทศไทย บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา ซินเจนทา ยึดหลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และได้มอบหมายให้ หมอพืช หรือ Stewardship เป็นผู้ที่คอยวิเคราะห์ ตรวจสอบ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถดูแล ป้องกัน และรักษาผลผลิต สร้างผลกำไร ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สำหรับแผนงานครึ่งปีหลัง ได้จัดแผนรณรงค์ส่งเสริมความรู้อย่างครบวงจร โดยเปิด “ศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย” ประจำภาคใต้ ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มร้านค้าผลิตภัณฑ์และบริการเกษตรกรรม
[adrotate banner=”3″]
สำหรับศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย ได้ดำเนินการให้ความรู้โดย หมอพืช ซินเจนทา นำหลักปฎิบัติมาตรฐาน 5 ช. เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจดจำได้ง่าย ประกอบด้วย 1) ชัวร์ อ่านและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ 2) ใช้ กระบวนการขนส่ง ผสม พ่น และจัดเก็บ ต้องระมัดระวัง 3) เช็ค ดูแลอุปกรณ์และเครื่องพ่นให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 4) ชุด สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่เหมาะสมและถูกต้อง 5) ชำระ ปฎิบัติตนให้มีสุขอนามัยดีอยู่เสมอ
ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งโครงการในแผนการเติบโตอย่างยั่งยืน (Good Growth Plan) ของซินเจนทา ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) คาดว่า พื้นที่เกษตรกรรมไทยอย่างน้อย 50 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33 จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 149 ล้านไร่ จะเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เกษตรกรมีสุขอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
“เป้าหมายสำคัญของการเปิดศูนย์เรียนรู้ฯ ครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจต่อการใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างปลอดภัยและไม่ส่งผลต่อสุขภาพ (Health & Safety) โดยเริ่มต้นจากกลุ่มร้านค้ารายใหญ่ 80 ราย ขยายผลไปอีก 1,600 สาขาย่อยทั่วประเทศ และสามารถส่งต่อความรู้ไปยังกลุ่มเกษตรกรได้ถึง 500,000 ราย กลยุทธ์สำคัญของแผนงานนี้คือ กลุ่มร้านค้าพันธมิตร เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นช่องทางการกระจายปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกร จึงเป็นการง่ายในการถ่ายทอดความรู้ ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกรรายย่อยทั่วภูมิภาค และสร้างความมั่นใจในวิธีการใช้สารฯ อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย” วัชรีภรณ์ กล่าว