เกษตรกรรุ่นใหม่“แกร่ง”กล้าที่จะเปลี่ยน ทิ้งเงินเดือนสู่สวนยางได้เดือนเกือบแสน

  •  
  •  
  •  
  •  

       “อุ๋ยไม่เสียดายเลยที่ลาออกมาเพราะสวนยางมันก็เป็นของครอบครัวเรา ก็คิดเสียว่ากลับมาช่วยคนที่บ้านจะได้อยู่กับครอบครัวด้วย”

         ท่ามกลางวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรที่หาเลี้ยงชีพด้วยการทำสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายคนต้องตัดต้นยางทิ้งและหันไปปลูกพืชสวนอย่างอื่นทดแทน บางรายจำเป็นต้องขายสวนและเปลี่ยนอาชีพเพื่อหนีปัญหา  แต่…”ศิวพร  สีหบัณฑ์” เกษตรกรจากบ้านดงตาหวัง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี  กลับยอมลาออกจากงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้ค่อนข้างมั่นคงเพื่อกลับไปช่วยเหลือครอบครัว เปลี่ยนตัวเองเป็นเกษตรกรสวนยางอย่างเต็มตัว  

       

         การกลับมาของ ศิวพร เขาต้องอดทนต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง การขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะราคายางที่ตกต่ำ  กระนั้นเขาสามารถก้าวข้ามผ่านพ้นจุดความยากลำบากทั้งหลายไปได้ในฐานะผู้นำครอบครัว จนได้รับการคัดเลือกและโหวตให้เป็น “เกษตรคนแกร่ง” อันเป็นแคมเปญสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ผู้ที่ต้องใช้ความอดทน มุ่งมั่น และพยายามเอาชนะอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ โดยมีฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นพาหนะคู่ใจ ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งการบรรทุกงานหนักและการใช้งานที่สมบุกสมบันในทุกงานเกษตร สมกับนิยาม “กระบะเกิดมาแกร่ง”

          ศิวพร  ถือเป็นคนรุ่นใหม่อีกหนึ่งคนที่ทำงานในบริษัทเอกชนเพราะรายได้ดีและมีความก้าวหน้า แต่เมื่อผู้เป็นพ่อขอให้ลาออกมาช่วยทำสวนยางที่บ้าน ศิวพรก็ไม่ลังเลที่จะเปลี่ยนชีวิตของตนเองมาเป็นเกษตรกรสวนยาง

         “อุ๋ยไม่เสียดายเลยที่ลาออกมาเพราะสวนยางมันก็เป็นของครอบครัวเรา ก็คิดเสียว่ากลับมาช่วยคนที่บ้านจะได้อยู่กับครอบครัวด้วย” นี่คือความคิดของ ศิวพร ที่เขากล้าเปลียนแปลงเส้นทางอาชีพจากมนุษย์เงินมาเป็นเกษตรกรเต็มขั้น

         ศิวพร เกิดในครอบครัวผู้บังเกิดเกล้า “ ชัยณรงค์ สีหบัณฑ์”  เคยเป็นข้าราชการครูอยู่โรงเรียนบ้านหนองฟานยืน และได้เริ่มต้นปลูกยางพาราเมื่อปี 2555 ซึ่งตอนนั้น  ศิวพร ก็เริ่มเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกยาง กรีดยาง การทำยางแผ่น เพื่อช่วยเหลือผู้เป็นพ่อ โดยเข้าไปศึกษากับญาติๆ หรือคนรู้จักที่ปลูกยางอยู่ในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีษะเกษ เป็นเวลาร่วม 1 ปีก่อนที่จะย้ายไปทำงานบริษัทเอกชนในจังหวัดชลบุรี

[adrotate banner=”3″]

         กระทั่งเกิดวิกฤตราคายางตกต่ำลงเรื่อยๆ จากที่เคยสูงกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท เหลือเพียงกิโลกรัมละไม่ถึง 30 บาท ส่งผลให้คนงานพากันลาออกและประสบปัญหาขาดแคลนคนงานกรีดยางในเวลาต่อมา ทำให้ศิวพรต้องตัดสินใจกลับบ้านมาช่วยทำสวนยางอย่างเต็มตัวและยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัวแทนผู้เป็นพ่อที่อายุมากขึ้น

        เขา เล่าว่า ยางพาราที่ปลูกเป็นพันธุ์ RRIM 600 ปัจจุบันมีต้นยางพาราจำนวนกว่า 2,000 ต้น บนพื้นที่ 30 ไร่ ยางพาราพันธุ์นี้สามารถทนความแห้งแล้งได้ดีเพราะพื้นที่แถบอีสานค่อนข้างแล้งและเป็นดินทราย ซึ่งในนแต่ละวันสวนยางของคอบครัวเขา สามารถกรีดยางได้น้ำยางประมาณ 200 ลิตร โดยกรีดยางกัน 2 วันเว้น 1 วัน พอถึงช่วงปลายเดือนมกราคม-มีนาคม จะเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ถือโอกาสพักหน้ายาง คือจะไม่กรีดยางเลยเป็นเวลา 1-3 เดือน

            ส่วนน้ำยางที่ได้จะเอาไปผลิตเป็นยางแผ่นซึ่งได้ประมาณ 70-80 แผ่นต่อวัน หากผลิตยางแผ่นไม่ทัน น้ำยางก็จะเป็นก้อนหรือที่เรียกว่า ยางบูด ขณะที่ยางแผ่นที่ได้ก็จะนำไปรมควันเพื่อไล่ความชื้น ป้องกันราขึ้นยางเพื่อที่จะขายยางได้ราคาดีกว่า

                   กระนั้น ศิวพร ยอมรับว่า การทำสวนยางในภาคอีสาน อุปสรรคสำคัญในการปลูกยางคือ พื้นดินในแถบอีสานนั้นไม่อุดมสมบูรณ์ ค่อนข้างแห้งแล้ง ต้องคอยรดน้ำต้นยางอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเมื่อต้นยางยังเล็ก โชคดีที่สวนของตนมีลำห้วยไหลผ่านสวนจึงไม่ต้องไปสูบน้ำไกล แต่ถ้ายางต้นไหนตายก็จำเป็นต้องตัดทิ้งแล้วปลูกใหม่

         นั่นจึงทำให้ต้นยางสูงไม่เท่ากัน ขณะที่เส้นทางสัญจรก็ยังค่อนข้างลำบาก ถนนแคบขับสวนกันไม่ได้ พื้นถนนขรุขระเป็นทางดินลูกรัง หรือหินดินแดง ส่วนไฟฟ้าและน้ำประปาก็ยังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่สวน แต่อุปสรรคเหล่านี้ ก็ไม่ได้ทำให้ทดท้อใจแม้แต่นิดเดียว

            “สิ่งที่ทำให้ท้อใจมีเพียงอย่างเดียวคือเรื่องราคายางตกต่ำ แต่เราทำมานานหลายปีแล้ว จึงไม่อยากทิ้งไป เหมือนเป็นการสูญเปล่า ก็มีครอบครัวนี่แหละเป็นแรงใจในการฮึดสู้ เพราะเราไม่อยากไปเริ่มต้นใหม่ ก็เลยก้าวต่อไปดีกว่า เพื่อครอบครัวของเรา” ศิวพรกล่าว พร้อมบอกเล่าถึงทางออกโดยการเอายางแผ่นไปประมูลที่สหกรณ์การยางแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดอุบลราชธานี มีการประมูลเดือนละ 2 ครั้ง หรืออาทิตย์เว้นอาทิตย์

           จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับสวนยาง ศิวพร ขยับขยายตัวเองจากเกษตรกรสู่พ่อค้า  รับซื้อน้ำยางจากคนรู้จักที่เคยทำข้อตกลงกันไว้ประมาณ 9 ราย รวมถึงชาวสวนขาจรที่เอาน้ำยางมาเสนอขาย ทำให้สามารถผลิตยางแผ่นได้เพิ่มขึ้นถึง 200-400 แผ่นต่อวันและมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 7-8 หมื่นบาทต่อเดือน โดยบางเดือนก็เคยสูงถึงหนึ่งแสนบาท แม้ว่าราคายางในปัจจุบันจะยังถือว่าตกต่ำอยู่ที่ประมาณ 42-45 บาทก็ตาม

        เรื่องราวการเสียสละเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเพื่อครอบครัวและความมุ่งมั่นเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ของ ศิวพร นี้ได้รับคัดเลือกจากฟอร์ด ประเทศไทยและสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย โดยได้รับคะแนนโหวตสูงสุดบนเฟซบุ๊กให้ขึ้นทำเนียบเป็นอีกหนึ่ง “เกษตรคนแกร่ง”

        “ภูมิใจและดีที่ได้รับเลือกให้เป็นเกษตรคนแกร่ง จากบริษัทที่เราใช้รถยนต์ฟอร์ดมาตลอด โดยส่วนตัวผมประทับใจมาตั้งแต่ใช้ ฟอร์ด เรนเจอร์ รุ่น XLSแล้ว  โดยเฉพาะช่วงล่างและสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม จึงตัดสินใจซื้อ ฟอร์ด เรนเจอร์ ไวล์ดแทรค เพราะเชื่อมั่นในความแข็งแกร่ง ทนทาน พร้อมความสะดวกสบายรวมถึงระบบความปลอดภัยที่ครบครัน เทียบกับรถเก๋งหรือรถเอสยูวีได้สบายๆ แถมยังขนยางเราไปขายได้เป็นตันๆ ถือเป็นรถคู่ใจที่เหมาะกับทั้งอาชีพการเกษตร และการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย” ศิวพร กล่าวอย่างมั่นใจ

       คงไม่เพียงที่จะหยุดนิ่งกับการทาสวนยาง และรับซื้อน้ำยางเพียงเท่านี้ หากแต่ ศิวพร ยังวางแผนในการที่ขยายธุรกิจต่อ  โดยตั้งใจไว้ว่า ในอนาคต นอกจากทำสวนยางแล้ว ยังคิดจะรับซื้อมันสำปะหลัง เพื่อทำมันเส้นไปส่งขายโรงงานโดยตรง หารายได้เพิ่มเติมจากทางอื่น โดยที่จะใช้รถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นพาหนะส่วนอีกต่อไป

หมายเหตุ

 ติดตามชมวิดีโอของศิวพร สีหบัณฑ์และ “เกษตรคนแกร่ง”ท่านอื่นๆ ได้ทางเฟซบุ๊ก ของฟอร์ด ประเทศไทย รวมถึงวีดีโอของ “อนาวิน รุ่งโรจน์พันทวี” ชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าที่เปลี่ยนวิถีชีวิตจากเดิมที่เคยปลูกฝิ่น กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจกาแฟชาวอาข่าที่สามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้ รวมถึง“ประทีป มายิ้ม”ปราชญ์เกษตรท้องถิ่น ผู้เป็นต้นแบบความพอเพียง ที่มาเผยถึงวิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงแนวชีววิถี สร้างรายได้บนพื้นฐานความพอเพียง และเรื่องราวของ“เอนก สีเขียวสด”เกษตรกรสู้ชีวิตที่เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองและนำมาปรับปรุงพัฒนาจนทำให้เขามีเครือข่ายฟาร์มนกกระทาขนาดใหญ่ครอบคลุมทั่วประเทศ

ข้อมูลเกี่ยวกับฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี

ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยธุรกิจของบริษัท ได้แก่ การออกแบบ ผลิต ทำการตลาด และบริการหลังการขาย สำหรับรถยนต์ รถกระบะ รถเอสยูวี รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในแบรนด์ฟอร์ด และแบรนด์ลินคอล์น ซึ่งเป็นแบรนด์ในตลาดรถหรู  รวมถึงให้บริการด้านการเงินผ่านบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต และบริษัทกำลังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และแผนการสัญจรอัจฉริยะ ฟอร์ดมีพนักงานรวมประมาณ 202,000 คนทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟอร์ด ผลิตภัณฑ์ของฟอร์ด และฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ www.corporate.ford.com

ติดต่อ: จินตนา จูตะเสน กมลพัชร ยะรังษี วชิรภรณ์ พรพิทยาเลิศ
ฟอร์ด ประเทศไทย ฟอร์ด ประเทศไทย ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทีจีส์
+66.89.924.5213 +66.81.655.6934 +66.80.449.4246
jjutasen@ford.com kyarangs@ford.com wpornpitayalert@hkstrategies.com