การใช้โดรนตรวจจับ-ป้องกันศัตรูพืชและปล่อยแตนเบียน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสภาษิต

       ในเมืองซานตาโมนิกา(Santa Monica) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นักวิจัยทำการบินโดรน ที่ติดกล้องที่ไวต่อแสง( light-sensitive cameras) เหนือแปลงปลูกต้นสตรอเบอร์รี่ เพื่อค้นหาพืชที่เสียหายจากศัตรูพืช และจากแผนที่ของรูปแบบการสะท้อนแสงของใบพวกเขา ได้ทำการติดตั้งโดรนที่เต็มไปด้วยตัวเบียน เพื่อนำไปปล่อยยังจุดที่เสียหายนั้น

       Zhaodan Kong ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลการบินและอวกาศของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส (UC Davis) กล่าวว่า“เป้าหมายของเราคือกำจัดศัตรูพืช เราใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับปัญหาแล้วทำบางสิ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย”

        ในการค้นหาการระบาดของแมลงศัตรู จะติดตั้งกล้อง hyperspectral เป็นกล้องที่ใช้วาดภาพช่วงคลื่นละเอียดสูง กับโดรนแล้วบินเหนือแปลงปลูกพืชและตรวจจับแสงที่สะท้อนจากต้นพืช

       Elvira de Lange นักวิจัยหลังปริญญาเอก สาขากีฏวิทยาและไส้เดือนฝอย กล่าวว่า “ถ้าต้นพืชมีสุขภาพดี ต้นพืชจะดูดซับแสงแดดได้มากเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง แต่ถ้าต้นพืชมีสุขภาพที่ไม่ดี อันเกิดจากแมลงศัตรูหรือจากความแห้งแล้ง ต้นพืชเหล่านั้นจะสะท้อนแสงในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราสามารถดูความแตกต่างเหล่านี้และพิจารณาได้ว่าต้นพืชตรงจุดใดต้องการการดูแลเป็นพิเศษ”

        ข้อมูลการสะท้อนแสงจากการตรวจจับของโดรนจะแจ้งไปยังขั้นตอนที่สองของกระบวนการ ซึ่งเป็นโดรนอีกตัวหนึ่งที่จะบินขึ้นแล้วปล่อยตัวเบียนซึ่งในการทดลองนี้คือ ไร (mite) ลงไป ตรงบริเวณที่ต้นพืชถูกทำลาย ไรเป็นสัตว์นักล่าของศัตรูพืชทางการเกษตรตามธรรมชาติและเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง

       ครับ นี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะใช้โดรนเพื่อช่วยในการผลิตพืช ซึ่งน่าจะเหมาะสมต่อการเกษตรในอนาคต

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://theaggie.org/2020/01/24/using-drones-and-predatory-bugs-uc-davis-researchers-treat-crop-pests/