เคนยาปฏิรูปการเกษตร ตั้งเป้าสนับสนุนการค้าฝ้ายบีที

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      การปฏิรูปภาคการเกษตรของเคนยา มีเป้าหมายเพื่อผลักดันการปลูกฝ้ายบีที (ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม) ในประเทศ โดยมีการยกร่างกฎหมายพืชเส้นใย เพื่อการพิจารณาให้เป็นกฎหมายที่รัฐบาลจะต้องส่งเสริมและทำการตลาดพืชเส้นใย รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเส้นใยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่จะกระตุ้นการปลูกฝ้ายบีที นั่นเอง

      Solomon Odera หัวหน้าคณะกรรมการพืชเส้นใยของประเทศ กล่าวในการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับฝ้ายบีที กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าฝ้ายของเคนยาว่า ร่างกฎหมายหรือที่เรียกกันว่า Fiber Crops Development Authority Bill เป็นร่างที่จัดให้มีการพัฒนากฎระเบียบและการส่งเสริมอุตสาหกรรมฝ้ายและป่านศรนารายณ์

ทั้งนี้มุ่งเน้นให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการห่วงโซ่มูลค่าฝ้ายที่เกี่ยวกับฝ้ายบีที เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มการผลิตฝ้ายจากปัจจุบันจำนวน 20,000 ก้อน (bales) เป็น 200,000 ก้อนภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังแสดงความมั่นใจว่า เมื่อร่างกฎหมายกลายเป็นกฎหมายแล้ว เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายจะได้รับความคุ้มครองจากความผันผวนของราคา

     Odera กล่าวอีกว่า ร่างกฎหมายนี้ จะกำหนดเรื่องการจัดเก็บภาษีซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นเงินทุนสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่คุณค่าทั้งฝ้ายและป่านศรนารายณ์ และ " เป็นที่น่าสังเกตว่าหนึ่งในพื้นที่ที่การจัดเก็บภาษีจะช่วยในด้านการเงิน

      กล่าวคือ การสร้างกองทุนรักษาเสถียรภาพ ที่จะจัดการกับความผันผวนของราคา "Bhagirath Choudhary จาก South Asia Biotech Center ได้แบ่งปันข่าวสารเรื่อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของฝ้ายบีทีของอินเดียให้กับผู้มีส่วนได้เสียในเคนยา และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่

       รวมถึงผลพลอยได้ โดยกล่าวว่า "อินเดียผลิตและบริโภคน้ำมันเมล็ดฝ้ายประมาณ 20.8 ล้านตันในช่วงปี 2545/46 ถึงปี 2562/63 โดยเปลี่ยนประเทศจากผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียวมาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันที่บริโภคได้ โดยมีการผลิตน้ำมันเมล็ดฝ้ายประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี น้ำมันเมล็ดฝ้ายปราศจากไขมันทรานส์ ไม่มีคอเลสเตอรอลและมีบทบาทในการลดปริมาณไขมันอิ่มตัวได้

     นอกจากนี้ยังเปิดเผยอีกว่าเมล็ดฝ้ายเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากผลพลอยได้ คือกากที่ได้จากการหีบน้ำมัน จะมีโปรตีนคุณภาพสูง (23%) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับอาหารสัตว์ ทำให้กากหรืออาหารที่ปราศจากน้ำมันฝ้าย เป็นอาหารที่ต้องการสำหรับโคและกระบือในประเทศ

      ปัจจุบันเคนยากำลังเปิดตัวการปลูกฝ้ายบีทีเชิงพาณิชย์กับเกษตรกรในเขตปลูกฝ้ายทางตะวันออกและตะวันตกข
องเคนยาที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอยู่แล้ว ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายนปี 2563 เกษตรกรในเขตปลูกฝ้าย 10 แห่งในภาคตะวันออก ได้ปลูกฝ้ายด้วยเมล็ดพันธุ์จำนวน 16.3 ตันบนพื้นที่ 10,000 เอเคอร์ (4,047 เฮกตาร์ หรือ 25,294 ไร่) การเปิดตัวปลูกฝ้ายบีทีในประเทศ เริ่มในเดือนมีนาคม 2563 โดยเริ่มจากการปลูกในแปลงสาธิตทั่วประเทศ

    ครับ ประเทศไทยเคยคิดว่าจะเป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่นั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว
ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกฝ้ายแทบจะไม่เห็นแล้วในประเทศ

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพในแอฟริกา โปรดสอบถามได้ที่ mkarembu@isaaa.org