เทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถถ่ายฝากยีนหลายตัวให้กับพืชได้พร้อมกันในครั้งเดียว

  •  
  •  
  •  
  •  

 

หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องปกติธรรมดา เกษตรกรในบางภูมิภาคของโลกจะต้องต่อสู้กับเชื้อราและโรคราน้ำค้าง โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสาลี โรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อราจัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ เชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อรากำลังแพร่ระบาดทางเหนือโดยเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลเมตรต่อปีทั่วโลก

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 หน่วยวิจัยการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA’s Agricultural Research Service – ARS) ได้เผยแพร่ผลการศึกษานำร่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ชื่อ GAANTRY (Gene Assembly in Agrobacterium by Nucleic acid Transfer using Recombinase technologY) ที่สามารถถ่ายฝากยีนหลายตัวให้กับพืชได้พร้อมกันในครั้งเดียว

Roger Thilmony นักชีววิทยาโมเลกุล จาก ARS กล่าวว่าทีมของเขาได้ถ่ายฝากยีน 10 ยีนเข้าไปในพืช Arabidopsis (พืชที่ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาทางด้านชีวโมเลกุล) ซึ่งยีนดังกล่าว จะมียีนที่ทำให้ต้นอ่อนของ Arabidopsis เรืองแสงรวมอยู่ด้วย ทำให้นักวิจัยสามารถทราบได้ทันทีว่ายีนได้รับการถ่ายฝากเรียบร้อยแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามยีนจากสายพันธุ์เดียวกันหรือจากสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ที่มีประโยชน์บางด้าน เช่น ความต้านทานโรค ก็สามารถเปลี่ยนเข้าไปใน 10 ยีนดังกล่าวได้ด้วย

Sarah Gurr นักโรคพืชวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ (University of Exeter) ยังสงสัยว่า GAANTRY จะพร้อมใช้ในช่วงเวลาที่จำเป็นหรือไม่ และกล่าวว่า “Arabidopsis เป็นเพียงพืชต้นแบบ ไม่ใช่พืชเพาะปลูก” และ “ในขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม สำหรับ Arabidopsis แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายฝากยีนจาก Brassica (พืชตระกูลกะหล่ำ) ให้กับข้าวสาลี ที่มีความซับซ้อนทางพันธุกรรมได้”

(ครับ เมื่อสามารถทำได้ในพืชต้นแบบ ในอนาคตก็น่าจะทำได้กับพืชเพาะปลูก ถ้าไม่หยุดงานวิจัยเสียก่อน)

ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  :  https://www.the-scientist.com/news-opinion/usda-unveils-new-gene-stacking-tool-to-prevent-plant-diseases-64642