โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องปกติธรรมดา เกษตรกรในบางภูมิภาคของโลกจะต้องต่อสู้กับเชื้อราและโรคราน้ำค้างโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสาลีโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อราจัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ เชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อรากำลังแพร่ระบาดทางเหนือโดยเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลเมตรต่อปีทั่วโลก
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 หน่วยวิจัยการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA’s Agricultural Research Service – ARS)ได้เผยแพร่ผลการศึกษานำร่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ชื่อ GAANTRY (Gene Assembly in Agrobacterium by Nucleic acid Transfer using RecombinasetechnologY) ที่สามารถถ่ายฝากยีนหลายตัวให้กับพืชได้พร้อมกันในครั้งเดียว
Roger Thilmonyนักชีววิทยาโมเลกุล จากARS กล่าวว่าทีมของเขาได้ถ่ายฝากยีน10 ยีนเข้าไปในพืช Arabidopsis (พืชที่ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาทางด้านชีวโมเลกุล) ซึ่งยีนดังกล่าว จะมียีนที่ทำให้ต้นอ่อนของ Arabidopsis เรืองแสงรวมอยู่ด้วย ทำให้นักวิจัยสามารถทราบได้ทันทีว่ายีนได้รับการถ่ายฝากเรียบร้อยแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามยีนจากสายพันธุ์เดียวกันหรือจากสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ที่มีประโยชน์บางด้าน เช่นความต้านทานโรค ก็สามารถเปลี่ยนเข้าไปใน 10 ยีนดังกล่าวได้ด้วย
[adrotate banner=”3″]
Sarah Gurrนักโรคพืชวิทยาจากมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์(University of Exeter)ยังสงสัยว่า GAANTRY จะพร้อมใช้ในช่วงเวลาที่จำเป็นหรือไม่และกล่าวว่า “Arabidopsis เป็นเพียงพืชต้นแบบ ไม่ใช่พืชเพาะปลูก” และ “ในขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม สำหรับArabidopsis แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายฝากยีนจาก Brassica (พืชตระกูลกะหล่ำ) ให้กับข้าวสาลี ที่มีความซับซ้อนทางพันธุกรรมได้”
ครับ เมื่อสามารถทำได้ในพืชต้นแบบ ในอนาคตก็น่าจะทำได้กับพืชเพาะปลูก ถ้าไม่หยุดงานวิจัยเสียก่อน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.the-scientist.com/news-opinion/usda-unveils-new-gene-stacking-tool-to-prevent-plant-diseases-64642