ดลมนัส กาเจ
เมื่อไม่นานมานี้ กรมชลประทานได้ทำแผนเร่งกำจัดผักตบชวา หลังพบว่ามีปริมาณเพิ่มกว่า 7 ล้านตัน ซึ่งเกรงว่าจะกระทบต่อทางน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาพบมากสุดถึง 1 ล้านตัน จำเป็นต้องกำจัดให้เสร็จก่อนเดือนมิถุนายน 2564 นี้
ในช่วงเวลาราว 2 ปีที่ผ่านมาเราจะได้แลเห็นมีเรือขนาดเล็กมีบทบาทในการกำจัดผักตบชวาอย่างคล่องตัว โดยเฉพาะในลำคลองขนาดเล็ดเล็ก ซึ่งเรือขนาดเล็กที่ว่านี้คือ “เรือกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก”นั่นเอง เป็นเรือที่กรมชลประมานวิจัยพัฒนาและผลิตขึ้นมาเอง
ธีระ สุขขี
“ธีระ สุขขี” ผู้อำนวยการส่วนวิจัยและพัฒนาเครื่องกล สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน บอกว่า เรือกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก เป็นเรือที่กรมชลประทานวิจัยพัฒนาขึ้นมาเอง มีขนาดความกว้าง 1.70 เมตร ความยาว 4.80 เมตร และความสูง 0.50 เมตร โครงสร้างหรือลำตัวของเรือ ทำจากวัสดุอลูมิเนียม เครื่องยนต์ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 13 แรงม้า สตาร์ทด้วยมอเตอร์ (มีแบตเตอรี่) และเชือกสตาร์ท ความเร็วในการเดินเรือ ไปได้ทั้งเดินหน้าและถอยหลังในน้ำ ประมาณ 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง
มี บุ้งกี๋สำหรับตักเก็บวัชพืช เป็นแบบตะแกรง ทำจากอลูมิเนียมผสม ขนาดความกว้าง 105 เซนติเมตร ความยาว 200 เซนติเมตร และความสูง 55 เซนติเมตร ใช้ระบบไฮโดรลิค สามารถในการเก็บวัชพืช (ผักตบชวา) ชั่วโมงละ 12 ตัน หรือวันละประมาณ 60 ตัน/วัน โดยใช้พนักงานควบคุมบนเรืองเพียงคนเดียว อัตราความสิ้นเปลืองนำมันเชื้อเพลิง(เบนชิน) ประมาณ 2 ลิตร/ชั่วโมง หรือประมาณ 60 บาท ต่อชั่วโมง
ปัจจุบันส่งไปใช้ในการกำจัดผักตบชวาทั่วประเทศ 172 ลำ ถือว่าน้อยมาก ตั้งเป้าที่จะให้เพียงพอต้องไม่น้อยกว่า 1,000 ลำ ปัจจุบันกรมชลประทานมีขีดความสามารถในการผลิตปีละ 150 ลำ หากหน่วยงานท้องถิ่นมีความต้องการสามารถจัดงบประมาณให้ได้ตกลำละ 5 แสนบาท (รายละเอียดในคลิป)