เร่งแผนปฏิบัติการสร้างความมั่นคงน้ำช่วงแล้ง’62/63

  •  
  •  
  •  
  •  

สทนช. เรียกประชุมทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2562/63 พื้นที่เสี่ยงขาดน้ำครอบคลุมทุกมิติ  เน้นย้ำเร่งปรับแผนจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุน รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนโดยด่วน เตรียมชงแผนงาน โครงการ งบประมาณอุดช่องกระทบแล้ง เสนอ กนช. เห็นชอบ 20 ธ.ค.นี้

        ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนป้องกันภัยแล้ง ปี 2562/63 และการกำหนดพื้นที่แหล่งน้ำสำรอง ตามที่ได้รับมอบหมายจาก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สามารถรับมือกับฤดูแล้งที่ใกล้จะมาถึงได้อย่างครอบคลุมทุกมิติประกอบด้วย 5 แผนปฏิบัติการหลัก ได้แก่ 1. แผนปฏิบัติการรองรับภาวะเสี่ยงการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค แบ่งเป็น ในเขตการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า มีความต้องการใช้น้ำในเขตให้บริการช่วง พ.ย. 62 – เม.ย. 63 ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม.

        ส่วนแหล่งน้ำสนับสนุน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำฯ ที่กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 1,260 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลือ กปน. ได้จัดทำแผนสำรองโดยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 4 บ่อ ประกอบด้วย สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี โรงงานผลิตน้ำบางเขน และสถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบัง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.63 ขณะที่ในเขตใหบริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในเขตการประปาสวนภูมิภาค รวม 61 สาขา 31 จังหวัด ซึ่ง กปภ.ได้จัดสรรงบปกติในการแก้ไขปัญหาแล้ว 706 ล้านบาท อาทิ การใช้น้ำจากชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำอื่น แต่พบว่ายังมีบางโครงการที่ต้องขอรับการสนับสนุนงบกลางในการจัดสรรน้ำและจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในเขต กปภ. โดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของแผนงานโครงการ

  

      สำหรับพื้นที่นอกเขตการให้บริการของ กปภ. ตามที่ สทนช.ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยง 38 จังหวัด ที่ประชุมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำใน 38 จังหวัดถึงระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อจำแนกระดับความเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำที่มีผลกระทบมาก ผลกระทบปานกลาง  ผลกระทบเล็กน้อย และไม่มีผลกระทบกระทบเลย เพื่อจัดลำดับแผนงานโครงการในการแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ โดย สถ.จะมีการหารือร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อเสนอแผนงาน โครงการ พร้อมงบประมาณที่ต้องขอรับการสนับสนุนให้ชัดเจนภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ อาทิ ขุดเจาะบ่อดาล สนับสนุนรถแจกจ่ายน้ำ จัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ขยายเขตประปาหมู่บ้าน เป็นต้น 

       2) แผนปฏิบัติการรองรับสถานพยาบาลเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยสถานพยาบาลที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 224 แหง ซึ่งสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบวา กปภ. สามารถส่งน้ำใหเพียงพอตอความตองการ ขณะเดียวกัน สธ. รวมกับ กปภ. จัดหาแหลงน้ำสํารองเพื่อรองรับในภาวะวิกฤติขาดแคลนน้ำด้วย  ขณะที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ สถ.ได้รับการถ่ายโอนจาก สธ.จากการสำรวจพบโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 157 แหง แบงเปน ภาคเหนือ 99 แหง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41 แหง ภาคกลาง 13 แหง และ ภาคตะวันออก 4 แห่ง  ซึ่ง สถ.อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนปฎิบัติการรองรับภาวะเสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเสนอกลับมายัง สทนช.ภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ 3)

       แผนปฏิบัติการจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่การเกษตร (ไม้ผล-ไม้ยืนต้น) ที่ประชุมมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตรวจสอบขอมูลไม้ผลยืนตนในระดับตําบลที่ไมมีแหล่งน้ำสําหรับสนับสนุน แบ่งเป็น พื้นที่นอกเขตชลประทาน 34 จังหวัด ในเขตชลประทาน 4 จังหวัด พร้อมวางแผนปฏิบัติการรองรับให้แล้วเสร็จภายใน 17 ธ.ค. 62 4) แผนปฏิบัติการจัดสรรน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยกรมชลประทาน (ชป.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ดำเนินการปรับแผนการจัดสรรน้ำใหม่ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับแผนจัดสรรน้ำในอ่างฯ ขนาดใหญ่ 14 แห่ง อาทิ ภูมิพล สิริกิติ์ กระเสียว ขนาดกลาง 11 แห่ง รวมถึงควบคุมการจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัด และต้องประชาสัมพันธ์ในระดับพื้นที่รับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องด้วย 5) แผนปฏิบัติการเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือช่วยเหลือภัยแล้ง โดยจัดทำข้อมูลบัญชีเครื่องจักร-เครื่องมือของทุกหน่วยงานแยกเป็นรายภาคที่ชัดเจน ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงาน เพื่อให้การสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนได้ทันที อาทิ รถบรรทุกน้ำ รถผลิตน้ำดื่ม เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น

          “เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในปีนี้มีอยู่อย่างจำกัด จึงจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของภาครัฐในการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน ปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด รวมไปถึงภาคประชาชนในการช่วยกันประหยัดน้ำ และคอยติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานเพื่อนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการรับรองภาวะเสี่ยงภัยแล้งรวมทั้งงบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุนงบกลาง  โดยเน้นเป็นแผนระยะสั้นสามารถดําเนินการเพื่อแกไขปญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำใหแลวเสร็จในฤดูแล้งนี้ สงให สทนช.พิจารณาภายในวันที่ 17 ธ.ค.62 เพื่อสรุปเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) วันที่ 20 ธันวาคมนี้พิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างรอบด้าน และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด” เลขาธิการ สทนช. กล่าว