“หมอกโก่สร้อย”มหัสจรรย์แห่งดอกไม้ป่า”บานวันสงกรานต์”

  •  
  •  
  •  
  •  

     “หมอกโก่สร้อย” มหัสจรรย์แห่งดอกไม้ป่า “บานวันสงกรานต์”เท่านั้น

โดย…นายสวีสอง

                                                ภาพนี้ขอบคุณ: Pantip.com

           สืบเนื่องจาก “สงกรานต์” เป็นประเพณีของไทยเรามาตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่มีรกรากที่เชื่อกันว่า อยู่ริมแม่แยงซีเกียง ตอนใต้ของจีน (มณฑลยูนานปัจจุบัน) ทำให้คนไทยเราดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็น “ไทใหญ่” และ “ไทลื้อ” เขาจะมีดอกไม้ ประจำวันสงกรานต์ แต่ที่บ้านเราไม่มี

         ดอกไม้ประจำวันสงการนต์ของไทใหญ่ คือ “หมอกโก่สร้อย”  เป็นไม้พุ่มขึ้นตามป่าในธรรมชาติ ลำต้นตรงผิวเปลือกต้นสีน้ำตาล ปลายๆของกิ่งสีเขียวสด

         ใบ เป็นใบดี่ยว รูปทรงวี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ผิวใบและขอบในเป็นคลื่น มีเส้นเป็นร่องเห็นได้ชัด

          ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง รูปทรงกลม เวลาบานสีขาว อมเขียวอ่อน ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปไกล ที่สำคัญว่ากันว่าดอกจะบานในวันสงกรานต์เท่านั้น งชาวไทใหญ่ จึงจะเก็บแต่หมอกโก่สร้อย เพื่อนำไปบูชาพระในวัดและในบ้าน รวมถึงนำไปประดับรางน้ำสรงพระ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ด้วย

           ส่วนดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ของ “ไทลื้อ” เป็น “ดอกส้อ” เป็นดอกไม้ป่ายืนต้นสูง  ลักษณะของดอกเป็นช่อใหญ่ โคนดอกเป็นหลอด ปลายกลีบมี 5 กลีบ ขอบกลีบและผิวกลีบดอกย่น แบบคล้ายกำมะหยี่ สีออกเหลืองส้ม จะออกดอกช่วงเทศกาลสงกรานต์เช่นกัน

[adrotate banner=”3″]

           พูดถึงเทศกาล “สงกรานต์” เป็นประเพณีของประเทศไทย  สปป.ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม  มนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย จึงสันนิษฐานกันว่า น่าจะได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน ในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ตรงเดือนมีนาคมนั่นเอง

            สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นประเพณีสงกรานต์สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะไทยนั้นถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย เป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483

            ว่ากันว่า ประเพณีสงกรานต์ เริ่มจากพิธีกรรมของสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง ต่อมาขยายวงกว้างเข้าสู่ระดับสากล จึงกำหนดอย่างเป็นทางการว่า เทศกาลมหาสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของปี